การยืมเงินแล้วชักดาบ หรือยืมเงินแล้วไม่คืน นอกจากจะส่งผลกระทบในเชิงความสัมพันธ์แล้ว ยังมีผลทางกฎหมายอีกด้วยครับ ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่าหากต้องการดำเนินการทางกฎหมายด้วยการแจ้งความนั้น จะทำได้หรือไม่หากเป็นเงินจำนวนไม่มากนัก เช่น ยืมเงิน 500 บาท แล้วไม่คืน วันนี้ผมได้หาคำตอบมาให้แล้วครับ
ยืมเงิน 500 ไม่คืน แจ้งความได้ไหม
ก่อนอื่นต้องแยกให้ออกก่อนนะครับ ว่าการกู้ยืมเงินแล้วไม่คืน ไม่ว่าจะมีการลงนามเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ จะถือเป็นคดีแพ่งซึ่งอยู่นอกเหนือจากอำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นยืมเงิน 500 ไม่คืน หรือยืมเงินแล้วไม่คืนกี่บาทก็ตาม จะแจ้งความไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นคดีแพ่งที่ต้องฟ้องร้องกับศาลเท่านั้น ตำรวจจะทำหน้าที่ได้เพียงแค่ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานเท่านั้นครับ
ยืมเงิน 500 ฟ้องศาลได้ไหม
หากเป็นการยืมเงินที่มีหลักฐานการยืมเงินอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน หรือแชทที่มีการตกลงยืมเงินกันจะสามารถใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องได้ ไม่ว่าจะเป็นเงินจำนวนน้อยนิดเพียงแค่ 500 บาท ก็ตาม แต่ก็ต้องประเมินและชั่งน้ำหนักให้ดี เพราะศาลอาจจะไม่รับฟ้องเงินจำนวนแค่ 500 บาท หรือต้องเสียเวลาขึ้นโรงขึ้นศาลกันมากกว่าเงินจำนวน 500 บาท ที่เสียไป
ยืมเงินแล้วไม่คืน ผิดกฎหมายไหม
การยืมเงินแล้วไม่คืน เป็นความผิดสัญญาทางแพ่ง ตามมาตรา 213 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เจ้าหนี้สามารถยื่นฟ้องต่อศาลให้มีคำสั่งบังคับให้ลูกหนี้คืนเงินให้ได้ โดยจะมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่ถึงกำหนดชำระเงินกู้ยืมคืน แต่หากในสัญญากู้ยืมมีการตกลงกำหนดชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยแบบเป็นงวดๆ กรณีนี้จะมีอายุความเพียง 5 ปี ดังนั้น ใครที่ยืมเงินแล้วไม่คืน หากเป็นเงินจำนวนไม่มาก เช่น 500 บาท อาจใช้วิธีขอประนอมหนี้หรือพูดคุยกันดี ๆ ครับ เพราะหากเสียเวลาขึ้นโรงขึ้นศาลอาจไม่คุ้มกับเวลาและค่าใช้จ่ายที่เสียไป แต่หากเป็นเงินจำนวนมาก ก็มีกฎหมายคุ้มครองเจ้าหนี้อยู่ครับผม