ปลาหางนกยูงเลี้ยงยังไง ให้รอด

มากสีสัน ดูสวยงาม เหมือนจะเลี้ยงได้ง่าย ๆ แต่ในความเป็นจริงนั้น “ปลาหางนกยูง” ที่เราอาจจะคุ้นเคยกันตั้งแต่เด็ก ๆ นั้น กลับเป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่มีวิธีการเลี้ยงและดูแลเอาใจใส่ที่เป็นรูปแบบเฉพาะ เพราะหากท่านสนใจและต้องการเลี้ยงปลาหางนกยูงให้มีสีสันที่สวยงาม สภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันนี้เราจึงหยิบยกรายละเอียดและข้อมูลสำหรับการดูแลปลาหางนกยูงมานำเสนอให้ทุกท่านด้วยบทความ “ปลาหางนกยูงเลี้ยงยังไง ให้รอด

 

ปลาหางนกยูง คือ

เป็นอีกหนึ่งปลาน้ำจืดที่มีขนาดเล็กมาก ๆ  โดยมีลำตัวนั้นจะมีขนาดเพียง 3 – 5 เซนติดเมตร ปลาหางนกยูงนั้นเป็นปลาที่มีจุดเด่นคือ มีครีบหางที่มีขนาดใหญ่โดยเมื่อเทียบกับลำตัวนั้น ถือว่าจะมีครีบหางที่ใหญ่กว่าตัวถึง 2 – 3 เท่า และปลาหางนกยูงนั้น ตัวผู้และตัวเมียจะมีความแตกต่างกันอย่างมากซึ่งตัวผู้นั้นจะมีลำตัวเล็กกว่าตัวเมียพอสมควร แต่ที่ครีบหางนั้นมีสีสันที่มีความสวยงามกว่า และที่สำคัญตัวเมียนั้นจะมีท้องที่อูมกว่า

ปลาหางนกยูง มาจากที่ไหน

ด้านที่มานั้น ปลาหางนกยูงจะมีการแพร่กระจายพันธุ์อยู่ในบริเวณทวีปอเมริกากลางจนถึงอเมริกาให้ ซึ่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดจนถึงน้ำกร่อยที่มีกระแสน้ำเอื่อย ๆ ทั้งนี้ปลาหางนกยูงนั้นเริ่มเป็นที่รู้จักในฐานะปลาสวยงามในประเทศไทยครั้งนี้ในช่วงรัชสมัย ในหลวงรัชกาลที่ 5 ซึ่งนิยมนำมาเลี้ยงไว้ในอ่างบัว เพราะเป็นปลาที่เลี้ยงได้ง่าย และมีสีมีนที่สวยงาม และที่สำคัญสูงสุดคือ ในปัจจุบันเป็นปลาที่สามารถเลี้ยงได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องให้ออกซิเจน

การขยายพันธุ์

ปลาหางนกยูงนั้นเป็นปลาที่มีสามารถขยายพันธุ์ได้ค่อยข้างง่าย เนื่องจากเป็นปลาที่มีการปฏิสนธิภายในตัว และออกลูกเป็นตัว โดยปลาตัวเมียเมื่อได้รับการผสมแล้วจะสามารถให้ลูกค้าไปได้ราว ๆ 2 – 3 ครั้ง ซึ่งการขยายพันธุ์นั้น ก็เพียงจับปลาตัวผู้และตัวเมียมาเลี้ยงไว้รวมกัน เพียงเท่านี้ก็เป็นการขยายพันธุ์ได้โดยธรรมชาติ ซึ่งปลาหางนกยูงจะสามารถเริ่มต้นขยายพันธุ์ได้ทันทีตั้งแต่อายุ 3 เดือนขึ้นไป ในปัจจุบันนั้น ปลาหางนกยูงได้รับการพัฒนาให้มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งมีทั้งสายพันธุ์ที่มีสีสันที่สวยงาม มีลาย มีลักษระต่าง ๆ เช่น โมเสก หางดาบ นีออน ทักซิโด้ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการตั้งชื่อตามลักษณะ สีสันของปลา

 

ปลาหางนกยูงเลี้ยงยังไง ให้รอด

จุดเด่นของปลาหางนกยูง

ด้วยความที่เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่เลี้ยงและขยายพันธุ์ได้ง่ายมาก ๆ ส่งผลให้หลายครัวเรือนนิยมนำมาเลี้ยงไว้ที่บ้าน ซึ่งเป็นการดีมาก ๆ สอดคล้องกับการรณรงค์โดยกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้สนับสนุนให้ทุกบ้านมีการเลี้ยงปลาหางนกยูงไว้เพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคที่เกิดจาก “ยุง” ซึ่งปลาหางนกยูงนั้นจะสามารถกินลูกน้ำและยุงได้นั่นเอง ดังนั้นจุดนี้จึงเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ส่งผลให้ปลาหางนกยูงเป็นที่นิยม

ปลาหางนกยูงเลี้ยงยังไง ให้รอด

แม้ว่าจะเป็นปลาน้ำจืดที่เลี้ยงได้ง่าย แต่ก็มีหลายท่านที่ทดลองนำปลาหางนกยูงมาเลี้ยงไว้ที่บ้านแล้วผลปรากฏว่าปลาตาย หรือเป็นโรค ดังนั้นในส่วนนี้เราจึงได้เตรียมรายะเอียดและข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงปลาหางนกยูงให้รอดมานำเสนอ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

 

ปลาหางนกยูงเลี้ยงยังไง ให้รอด

ซื้อปลามาใหม่ทำยังไง

  • สำหรับท่านที่พึ่งจะได้ปลาหางนกยูงมาใหม่หรืออาจจะพึ่งซื้อปลามาใหม่ ๆ นั้น ก่อนที่จะนำปลาใส่ลงไปในน้ำ ทุกท่านจะต้องดำเนินการเตรียมน้ำในอ่างเสียก่อน โดยจะต้องเปิดน้ำใส่ถังและพักน้ำไว้ก่อนสัก 1 – 3 วัน ซึ่งหากเป็นแหล่งน้ำที่โดนแสงแดดทั่วไปก็สามารถทิ้งไว้สัก 1 วัน
  • เมื่อได้ปลามา ก่อนที่จะเทปลาออกจากถึง ท่านจะต้องเอาทั้งถุงพร้อมปลานั้นไปแช่ในอ่างน้ำที่ท่านเตรียมไว้เสียก่อน เพื่อให้ปลาปรับสภาพและอุณหภูมิ อย่างน้อย 30 – 50 นาที
  • เมื่อพร้อม เปิดปากถุง ค่อย ๆ ตักน้ำในอ่างใส่ลงไปในถุงและทิ้งไว้อีก 10 – 20 นาที เพื่อให้ปลาปรับสภาพอีกเล็กน้อย
  • ตักปลาออกจากถุงใส่ลงไปในอ่าง ตักแต่ปลาโดยเทน้ำในถุงทิ้งทั้งหมด ไม่ต้องใส่ตามปลาไป

เพียงเท่านี้ก็จะเป็นการเตรียมปลามาใหม่ที่ถูกต้อง ซึ่งก็น่าจะทำให้ทุกท่านสามารถเลี้ยงปลาหางนกยูงให้รอดได้ ทั้งนี้นอกจากประเด็นการเตรียมปลาให้พร้อมแล้ว ปลาบางตัวอาจจะติดโรคหรือป่วย ซึ่งจะส่งผลให้ปลาที่ท่านนำมานั้นไม่แข็งแรงและอาจจะไม่รอด

เวลาเปลี่ยนน้ำใหม่ทำยังไง

สำหรับการทำความสะอาดตู้หรืออ่างน้ำนั้น เวลาท่านเปลี่ยนน้ำใหม่ อย่าเปลี่ยนน้ำทิ้งทั้งหมด โดยให้เหลือน้ำเดิมไว้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งเพื่อป้องกันปลาน็อคน้ำ และที่สำคัญคือ ปลาหางนกยูงนั้นกินอาหารที่ไม่มากนัก ดังนั้นเมื่อท่านให้อาหารก็ไม่ควรให้อาหารที่มากเกินไป

ปลาหางนกยูงติดโรคทำยังไง

สำหรับการแก้ไขอ่างปลาที่มีการติดโรค ให้ทุกท่านล้างอ่างใหม่ โดยให้เอาปลาออกทั้งหมดซึ่งรวมทั้งบัวหรือไม้น้ำอื่น ๆ ด้วย หลังจากนั้นให้แช่อ่างด้วยด่างทับทิมและทิ้งไว้สัก 1 คืน จากนั้นค่อย ๆ เอาบัวกับปลากลับลงไปในอ่างด้วยวิธีการเตรียมน้ำตามปกติที่เราได้นำเสนอไป และเพื่อให้ปลาสามารถปรับสภาพได้ดียิ่งขึ้น ทุกท่านสามารถใส่เกลือทะเลลงไปในอ่างได้สักเล็กน้อย ส่วนน้องปลาที่ป่วยหรือติดโรค ให้ท่านตักแยกออกมาใส่ถังน้ำสะอาดที่ไม่มีครอรีน หลังจากนั้นใส่เกลือและด่างทับทิมอ่อน ๆ แล้วสังเกตที่สีของน้ำให้ออกสีชมพูอ่อน ๆ หลังจากนั้นสังเกตอาการของปลา หากท่านรักษาได้ปลาหางนกยูงที่ป่วยก็จะรอด แต่ถ้าไม่ดีขึ้นก็จำเป็นต้องปล่อยเขาไป

ซึ่งโรคที่ปลาหางนกยูงเป็นบ่อยมาก ๆ นั้น คือ โรคจุดขาว โดยจะเป็นเชื้อโรคที่เกิดจากเชื้อราซึ่งจะสังเกตได้ง่าย ๆ คือ จะมีจุดขาว ๆ เกิดขึ้นอยู่ตามลำตัว ครีบ ซึ่งจะมีขนาดประมาณ 0.5 – 1 มม. และจะทำให้ปลามีอาการซึม หางหุบ มีการหายใจแรงและไม่กินอาหาร ดังนั้น หากท่านพบว่าปลาหางนกยูงของท่านติดโรคก็ทดลองดำเนินการแก้ไขตามวิธีการที่เรานำเสนอไปได้เลย

อ้างอิง 1