เชื่อเลยว่าหลาย ๆ ท่านที่เป็นผู้ขับขี่รถยนต์คงจะมีข้อสงสัยกันไม่ใช่น้อย ว่า “พรบ” แท้จริงแล้วคืออะไร ต้องมีไว้ทำไม และที่สำคัญคือ เมื่อไหร่ที่เราจะต้องดำเนินการติดต่อเจ้าหน้าที่ในการต่ออายุ โดยเพื่อให้ทุกท่านคลายข้อสงสัย ในครั้งนี้เราจึงมาพร้อมกับบทความแนะนำ “ต่อ พรบ รถยนต์ ทำยังไง ใช้อะไรบ้าง” สำหรับเป็นการให้รายละเอียดและข้อมูลแก่ทุกท่านสำหรับการต่อ “พรบ” ที่ว่านั่นเอง
ต่อ พรบ รถยนต์ คืออะไร
สำหรับท่านที่มีรถยนต์แล้ว นอกจากใบอนุญาตขับขี่แล้ว เอกสารสำคัญที่ทุกท่านจะต้องทำและดำเนินการเมื่อถึงกำหนดต่ออายุก็คือ “พรบ รถยนต์” ทั้งนี้ พรบ รถยนต์นั้น สามารถเรียกได้ในอีกชื่อคือ “ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ” ซึ่งตามกฎหมายนั้นเป็นคำย่อมาจาก พระราชบัญญัติ ซึ่งจะให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถหรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถนั่นเอง โดยจะเป็นกฎหมายบังคับให้รถทุกคันที่ดำเนินการจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก จะต้องทำและมีไว้เพื่อเป็นหลักประกันให้กับคนในรถทุกคัน
ทำไมต้องต่อ พรบ รถยนต์
เนื่องจากกฎหมายได้ดำเนินการกำหนดให้รถทุกคันต้องมีการต่อ พรบ รถยนต์ เพื่อเป็นหลักประกันและคุ้มครองผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถยนต์รวมถึงรถจักรยานยนต์ ซึ่งหากท่านละเลยและฝ่าฝืนไม่ดำเนินการต่อ พรบ รถยนต์ จะถือว่าท่านละเมิดกฎหมาย ซึ่งเป็นประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งจะส่งผลให้ท่านได้รับโทษตามกฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยจะมีระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ดังนั้น ทุกท่านจึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการเพื่อต่อ พรบ รถยนต์ทุกปีเพราะกฎหมายได้กำหนดไว้นั่นเอง
ต่อ พรบ ทำยังไง
ทั้งนี้สำหรับท่านที่ยังไม่ทราบ ณ เวลานี้เชื่อหรือไม่ว่าทุกท่านที่เป็นเจ้าของรถยนต์นั้น สามารถดำเนินการต่อ พรบ ได้ง่าย ๆ กับหลากหลายสถานที่โดยปกติทั่วไปนั้น ท่านที่มีการทำประกันรถยนต์ หรือมีเจ้าหน้าที่จากธนาคารดูแล การดำเนินการต่อ พรบ รถยนต์นั้นเจ้าหน้าที่จะดำเนินการอำนวยความสะดวกให้ท่านแล้ว แต่สำหรับกรณีที่ท่านอาจจะผ่อนรถครบแล้ว หรือไม่ได้ดำเนินการซื้อประกันภัย ประกันอุบัติเหตุใด ๆ ไว้ การต่อ พรบ รถยนต์ด้วยตัวท่านเองก็เป็นสิ่งที่ท่านจะต้องดำเนินการเอง ซึ่ง ทุกท่านสามารถดำเนินการเข้าติดต่อและต่อ พรบ รถยนต์ได้ด้วยตัวท่านเอง ณ จุดให้บริการซึ่งเราได้รวบรวมมานำเสนอให้ท่านที่นี่ ดังนี้
- ตัวแทนประกันภัย ตามที่เราได้กล่าวไปแล้วว่า การต่อ พรบ รถยนต์นั้น จะเป็นหน้าที่สำคัญที่เจ้าหน้าที่ตัวแทนประกันภัยจะต้องดำเนินการให้ท่าน ซึ่งแม้ว่าท่านจะไม่ได้ซื้อประกันภัยเพิ่มเติม แต่การเข้าติดต่อและต่อ พรบ ซึ่งเป็นประกันภาคบังคับนั้นก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยท่านสามารถเข้าติดต่อเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง
- เคาน์ตอร์เซอร์วิส 7 – Eleven ด้วยความสะดวกรวดเร็ว ณ เวลานี้ ร้านสะดวกซื้อที่มีอยู่ทั่วบ้านทั่วเมืองอย่าง 7 – 11 ก็พร้อมให้บริการต่อ พรบ รถยนต์ได้ง่าย ๆ ทันที โดยท่านสามารถเลือกต่อ พรบ กับ 4 บริษัทชั้นนำได้ทันที คือ วิริยะประกันภัย/ กรงเทพประกันภัย/ เมืองไทยประกันภัย และ อลิอันซ์ซีพีประกันภัย ซึ่งทุกท่านสามารถเข้าติดต่อที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสและระบุวันที่จะเริ่มต้นการคุ้มครองและวันสิ้นสุด หลังจากนั้นก็เพียงให้พนักงานกรอกรายละเอียดและเสียบบัตรประชาชนเข้าเครื่อง กดหมายเลขโทรศัพท์ เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการต่อ พรบ รถยนต์ ที่ 7 – 11 ด้วยค่าธรรมเนียมเพียง 20 บาท และค่าส่งเอกสารไปที่อยู่ของท่านอีก 40 บาทเท่านั้น
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำหรับท่านที่อยู่ใกล้หรือเป็นลูกค้าประจำของ ธกส การเข้าติดต่อเจ้าหน้าที่และดำเนินการต่อ พรบ รถยนต์ ณ ธนาคารก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจไม่ใช่น้อย เพราะเพียงท่านนำ ใบประกันภัยตาม พรบ และใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ เข้าติดต่อเจ้าหน้าที่ เพียงเท่านี้ท่านก็จะสามารถดำเนินการต่อ พรบ รถยนต์ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรได้ง่าย ๆ ทันที
ต่อ พรบ รถยนต์แต่ละประเภท ทำยังไง ใช้เอกสารอะไรบ้าง
สำหรับท่านที่ต้องการจะเข้าดำเนินการต่อ พรบ ด้วยตัวท่านเอง ในส่วนต่อจากนี้จะเป็นการนำเสนอรายละเอียดและข้อมูล พร้อมทั้งรายการเอกสารสำคัญที่ท่านจะต้องเตรียมเพื่อนำเข้ารับการให้บริการต่อ พรบ รถยนต์ โดยจะเป็นการแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามชนิดและประเภทของรถยนต์ที่ท่านเป็นเจ้าของ ดังนี้
- สำหรับรถยนต์ ที่อายุไม่เกิน 7 ปี ใช้ สำเนาทะเบียนรถ หรือเล่มจริง และสำเนาบัตรประชาชน ไปต่อ พรบ รถยนต์ได้ทันที ณ จุดบริการใกล้บ้านท่าน
- สำหรับรถยนต์ ที่อายุเกิน 7 ปีขึ้นไป ในส่วนนี้การต่อ พรบ รถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป ทุกท่านจะต้องนำรถเข้าตรวเช็คสภาพก่อน โดยสามารถนำรถเข้าตรวจได้ที่สถานที่ตรวจเอกชน (ตรอ) ทุกแห่ง ซึ่งจะเป็นสถานที่ที่ได้รับการรับรองจากกรมขนส่งทางบก และ ที่สำนักงานกรมขนส่งทางบกเอกก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยจะมีการแบ่งค่าใช้จ่ายในการต่อ พรบ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 ที่นั่ง 600 บาทต่อปี
- รถยนต์โดยสารเกิน 7 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,100 บาทต่อปี
- รถยนต์โดยสารเกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาทต่อปี
- รถยนต์โดยสารเกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาทต่อปี
- รถยนต์โดยสารเกิน 40 ที่นั่งขึ้นไป 3,740 บาทต่อปี
- รถยนต์ไฟฟ้า 600 บาทต่อปี
โดยทุกท่านสามารถนำเอกสารประกอบการต่อ พรบ เข้าติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ทันที ซึ่งมีรายละเอียดเอกสารจำเป็นที่จะต้องเตรียม ดังนี้
- สมุดคู่มือจะทะเบียนรถเล่มจริงหรือสำเนา
- เอกสาร พรบ รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ (กรณีที่ท่านต้องการเข้าต่อ พรบ ก่อนหมดอายุ)
- ใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ (กรณีรถของท่านอายุเกิน 7 ปี)
- เงินสำหรับเป็นค่าธรรมเนียมและค่า พรบ รถยนต์
เพียงเท่านี้ ทุกท่านก็จะสามารถเข้าดำเนินการต่อ พรบ รถยนต์ได้ทันทีด้วยตัวท่านเอง โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้ระยะเวลาไม่นาน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เข้ารับการให้บริการ แต่อย่างไรก็ตาม ณ จุดการให้บริการตรวจสภาพรถยนต์เอกชน (ตรอ) ส่วนใหญ่นั้น มักจะมีการให้บริการรับต่อ พรบ ให้ท่าน ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมเพื่อท่านจะได้ไม่ต้องเดินทางเข้าติดต่อเจ้าหน้าที่กรมขนส่งทางบกด้วยตัวเอง โดยสามารถนัดวันกลับมารับเอกสารได้นั่นเอง