ไซยาไนด์ คืออะไร อันตรายเบอร์ไหน

สำหรับหลาย ๆ ท่านที่ติดตามข่าว ช่วงนี้คงจะได้ยินชื่อสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งมีการพูดคุยกันอย่างหนาหู ถึงอันตรายและผลข้างเคียงซึ่งวันนี้ถือเป็นโอกสดีที่เราได้รับรายละเอียดและข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “ไซยาไนด์” มาบอกเล่าให้ทุกท่านได้ทราบกันผ่านบทความของเราในวันนี้กับ “ไซยาไนด์ คืออะไร อันตรายเบอร์ไหน” เราลองมาศึกษาไปพร้อม ๆ กัน

 

ไซยาไนด์ คือ

สารไซยาไนด์ (Cyanide) นั้นเป็นสารเคมีที่มีความเป็นพิษสูงมาก โดยสารชนิดนี้มีด้วยกันหลายรูปแบบทั้งในรูปของแข็ง ของเหลวและก็เป็นแก๊ส ดังเช่น Hydrogen Cyanide, Potassium Cyanide, Sodium Cyanide ทั้งนี้ในเมื่อมันเป็นสารอันตราย หลาย ๆ ท่านคงจะเริ่มสงสัยว่าแล้วเราเอามันทำอะไร ในสวนนี้ สารไซยาไนด์นั้นเป็นสารที่มีความสำคัญอย่างมากในอุตสาหกรรมการสกัดแร่ ผลิตกระดาษ ทำพลาสติก ทำหนังเทียม โดยนอกจากการนำเข้ามาใช้งานในอุตสาหกรรมเหล่านี้แล้ว สารไซยาไนด์ยังสามารถพบได้ในพืชบางชนิดอีกด้วย อาทิ มันสำปะหลังดิบ หน่อไม้สด และถั่วบานิด ซึ่งสารนี้จะมีการปนเปื้อนเช้าสู่ร่างกายได้ และเมื่อมีการเข้าสู่ร่างกายสารไซยาไนด์ก็จะทำให้การทำงานของเซลล์ต่าง ๆ หยุดทำงานได้ ซึ่งจะเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ในทันที

 

ไซยาไนด์ คืออะไร อันตรายเบอร์ไหน

อาการของพิษจากไซยาไนด์

นอกจากการได้รับสารปนเปื้อนสารไซยาไนด์จากพืชและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งท่านเองอาจจะไม่ทันระวังตัวนั้น การทราบถึงอาการและรู้จักอันตรายของพิษที่เกิดจากไซยาไนด์นั้นก็เป็นอีกประเด็นที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการรักษาและการแก้ไขความรุนแรงของพิษที่ได้รับ โดยจากรายละเอียดและข้อมูลที่ได้รับจากกระทรวงสาธารณสุขและกรมการแพทย์ ซึ่งได้ออกมาเตือนพี่น้องประชาชนทุกท่านให้ทราบถึงอันตรายของไซยาไนด์ พบว่าอาการที่เกิดจากการได้รับพิษของสารอันตรายนี้ สามารถสรุปได้รายละเอียดดังนี้

  • ระคายเคืองบริเวณที่สัมผัสสารพิษ
  • รู้สึกเวียนศีรษะ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • หายใจลำบาก หายใจได้ช้า
  • รู้สึกอ่อนแรง
  • อาจมีอาการหมดสติได้ หรือมีอาการชัก
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • บางรายอาจหยุดหายใจหรือมีอาการหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

โดยอาการต่าง ๆ นั้นจะมีความรุนแรงและความหนักเบาที่แตกต่างกันไปตามปริมาณและระยะเวลาในการรับสารพิษนี้

 

ไซยาไนด์ คืออะไร อันตรายเบอร์ไหน

วิธีแก้พิษที่รับจากไซยาไนด์

สำหรับหลาย ๆ ท่านที่พลาดหรืออาจจะได้รับการปนเปื้อนของสารไซยาไนด์โดยไม่ได้ตั้งใจ ในส่วนนี้จะเป็นการการนำเสนอวิธีแก้พิษ ซึ่งทุกท่านสามารถดำเนินการได้ทันที โดยอาจจะเป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนนำตัวผู้ได้รับพิษส่งแพทย์หรือโรงพยาบาลต่อไป ซึ่งสามารถดำเนินการได้ ดังนี้

  • หากสัมผัสไซยาไนด์ทางผิวหนัง ในรีบถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนสารนั้นออกทันที หลังจากนั้นให้ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่หรือให้อาบน้ำทำความสะอาดทันที หลังจากนั้นรีบไปโรงพยาบาล
  • หากสัมผัสหรือได้รับการปนเปื้อนที่ดวงตา ให้ท่านใช้น้ำสะอาดล้างตาอย่างน้อย 10 นาทีอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ล้างสารพิษออกให้มากที่สุด หลังจากนั้นรีบไปโรงพยาบาล
  • หากท่านได้รับสารไซยาไนด์จากการสูดดม ให้ท่านหรือพาผู้ที่ได้รับกการปนเปื้อนนั้นออกจากพื้นที่ปนเปื้อนโดยเร็วที่สุด และนำส่งโรงพยาบาลในทันที
  • ในกรณีที่ผู้ที่ได้รับสารพิษเกิดหยุดหายใจหรือมีอาการหัวใจหยุดเต้น ให้ทำ CPR แต่ “ห้ามใช้วิธีเป่าปากโดยเด็ดขาด” เพราะอาจจะทำให้ผู้ช่วยเหลือได้รับสารพิษไปด้วย
  • วิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับสารไซยาไนด์ คือ รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

ทั้งนี้เมื่อท่านได้รับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ส่วนใหญ่แนวทางการรักษาหรือวิธีการแก้พิษนั้นจะเป็นการประคับประคองตามอาการ โดยการดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง เพื่อให้ออกซิเจนสะดวกที่สุด และอาจจะมีการใช้ยากระตุ้นความดันในกรณีที่ผู้ได้รับสารพิษมีอาการความดันโลหิตต่ำ เพื่อรักษาภาวะเลือกเป็นกรดหรือให้ยากันชัก ซึ่งหากทราบสาเหตุหรือวิธีการรับสารปนเปื้อนก็จะทำให้การรักษานั้นมีความสะดวกยิ่งขึ้น เพราะทีมแพทย์จะสามารถให้ยาต้านพิษได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

 

ไซยาไนด์ คืออะไร อันตรายเบอร์ไหน

วิธีการช่วยเหลือผู้รับสารไซยาไนด์

จากรายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับอันตรายของไซยาไนด์ที่เราได้นำเสนอไปแล้วนั้น ทุกท่านคงพอจะทราบแล้วว่าการเข้าให้ความช่วยเหลือผู้รับสารพิษชนิดนี้ ท่านจะไม่สามารถทำการช่วยชีวิตด้วยวิธีผายปอดและในความเป็นจริงก็อาจจะไม่สามารถให้การช่วยเหลือหรือการทำปฐมพยาบาลเองได้ เพราะท่านเองนั้นอาจจะได้รับสารพิษจากการสัมผัสและการผายปอดนั้นทันที เนื่องจากสารไซยาไนด์นั้นเป็นสารพิษอันตรายที่มีพิษที่รุนแรง และสามารถทำให้ทุกท่านที่สัมผัสหรือรับสารนี้มีอันตรายถึงชีวิต หากได้รับในปริมาณมากก็อาจจะเสียชีวิตได้ในทันที ดังนั้นวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากมีความจำเป็น ทุกท่านจึงควรนำผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับสารพิษนี้ส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว เพื่อให้แพทย์และทีมช่วยชีวิตสามารถให้การรักษาได้อย่างรวดเร็ว

แนวทางการป้องกันสารไซยาไนด์

สำหรับสาเหตุที่เป็นต้นตอของการพบสารไซยาไนด์นั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการสัมผัสและการรับสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม แต่สำหรับทุกท่านที่เป็นประชาชนทั่วไปนั้น ท่านอาจจะได้รับสารพิษนี้ได้ จากเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังนี้ ไฟไหม้บ้านเรือน ไฟไหม้รถ การเผาวัสดุที่มีคาร์บอนและไนโตรเจน เช่น พลาสติก เมลานีนเรซิน ไนล่อน ไหม ขนสัตว์และยางสังเคราะห์ หรือในโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นอุตสาหกรรมฝอกหนัง ยาฆ่าแมลง สกัดแร่ ผลิตยาง เป็นต้น ดังนั้น หากท่านมีบุคคลใกล้ชิดที่เกี่ยวกับกับอุตสาหกรรมเหล่านี้ ก่อนที่รับประทานอาหารหรือพบปะพูดคุยกันหลังการทำงาน อย่างน้อย ๆ ก็ควรให้เขาอาบน้ำหรือเปลี่ยนเสื้อผ้าให้เรียบร้อยเสียก่อน และสำหรับบุคคลทั่วไป เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการรับสารพิษ หรือสารไซยาไนด์นั้น ทุกท่านควรพกขวดน้ำส่วนตัวหรืออุปกรณ์การรับประทานอาหารที่เป็นส่วนตัว โดยให้นำติดตัวไว้ใช้เสมอ เพื่อป้องกันการเจือปนของสารไซยาไนด์ซึ่งอาจจะเข้ามาปนเปื้อนในอาหารซึ่งท่านอาจจะซื้อจากร้านอาหารที่อาจจะไม่ได้ลวกช้อนส้อมและจานใส่อาหารก่อนนั่นเอง

อ้างอิง 1