![](https://bkklovehoro.com/wp-content/uploads/2024/06/ปรับโครงสร้างหนี้-เสียประวัติไหม-1.webp)
การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นหนึ่งในวิธีแก้ไขปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลัง มีเงินไม่พอใช้ชำระหนี้แต่ละงวด ซึ่งปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานว่า ยอดหนี้ครัวเรือนของคนไทยพุ่งขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ ทั้งหนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด หนี้รถยนต์ และหนี้บ้าน ทำให้ภาครัฐต้องออกมาตรการช่วยเหลือ ทั้งสินเชื่อรวมหนี้ และคลินิกแก้หนี้ ที่เข้ามาช่วยปรับโครงสร้างหนี้ให้กับประชาชน อย่างไรก็ดี ยังมีข้อสงสัยหลายประการเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ เช่น จะเสียเครดิตไหม ต้องค้างชำระหนี้นานเท่าไหร่ ในบทความนี้ มีคำตอบครับ
การปรับโครงสร้างหนี้ คืออะไร?
การปรับโครงสร้างหนี้ คือ กระบวนการที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ร่วมกันตกลงเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการชำระหนี้ที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ลูกหนี้สามารถจัดการหนี้สินของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้อย่างสมเหตุสมผล ปกติการปรับโครงสร้างหนี้จะเกิดขึ้นในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ตามเงื่อนไขเดิมได้ เช่น มีปัญหาทางการเงินหรือกระแสเงินสดไม่เพียงพอ การปรับโครงสร้างหนี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการล้มละลายของลูกหนี้ และช่วยให้เจ้าหนี้สามารถได้รับการชำระหนี้บางส่วนหรือทั้งหมดตามที่ตกลงกันใหม่ได้
การปรับโครงสร้างหนี้ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
1.การยืดระยะเวลาการชำระหนี้ คือ ขยายระยะเวลาการชำระหนี้เพื่อให้ลูกหนี้มีเวลาในการจัดการเงินมากขึ้น
2.การลดดอกเบี้ย คือ ลดอัตราดอกเบี้ยที่ต้องชำระเพื่อลดภาระทางการเงิน
3.การลดเงินต้น คือ ลดจำนวนเงินต้นที่ต้องชำระ
4.การแปลงหนี้เป็นทุน คือ เปลี่ยนหนี้เป็นหุ้นในบริษัทของลูกหนี้
5.การยกเว้นหรือเลื่อนการชำระดอกเบี้ย คือ ยกเว้นการชำระดอกเบี้ยบางช่วงเวลา หรือเลื่อนการชำระดอกเบี้ยไปยังช่วงเวลาที่ลูกหนี้มีกระแสเงินสดดีขึ้น
การปรับโครงสร้างหนี้ ข้อดี-ข้อเสีย
ข้อดี
- ช่วยลดภาระทางการเงินของลูกหนี้ที่หนักเกินไป ทำให้ลูกหนี้มีเวลาหายใจเพิ่มขึ้นและสามารถจัดการการเงินได้ดีขึ้น เช่น บางคนอาจต้องชำระหนี้หลักหลายหมื่นต่อเดือน แต่เมื่อปรับโครงสร้างหนี้แล้ว อาจจะเหลือยอดผ่อนหนี้ต่อเดือนประมาณ 3-4 พันบาทเท่านั้น
- ป้องกันการล้มละลาย ซึ่งอาจเป็นทางออกที่ไม่พึงประสงค์สำหรับทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้
- เพิ่มเสถียรภาพทางการเงินทำให้ธุรกิจมีโอกาสฟื้นฟูและเติบโตต่อไปได้
- การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายในระยะยาว
- การลดความเสี่ยงสำหรับเจ้าหนี้ที่จะไม่ได้รับการชำระหนี้ทั้งหมด
ข้อเสีย
- อาจมีที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาและดำเนินกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้
- อาจใช้เวลาดำเนินการพอสมควร ไม่เป็นผลดีต่อเจ้าของธุรกิจที่ต้องการเงินหมุนเวียน ดังนั้น ควรเริ่มกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้แต่เนิ่นๆ
ปรับโครงสร้างหนี้ ที่ไหนดี?
ปัจจุบันธนาคารและสถาบันการเงินหลายแห่ง เปิดช่องให้ท่านสามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้ โดยอาจจะมีรายละเอียดและเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
ปรับโครงสร้างหนี้ ธนาคารออมสิน 2567
- การขยายระยะเวลาชำระหนี้ จะช่วยยืดเวลาจ่ายหนี้ ผ่อนน้อยลงต่อเดือน ดอกเบี้ยเพิ่มตามเวลา
- การพักชำระเงินต้น จะจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย ผ่อนน้อยลง แต่ภาระหนี้เพิ่มภายหลัง
- การชำระหนี้ปิดบัญชี กรณีมีเงินก้อนที่พอปิดหนี้บางส่วน ไม่สามารถปิดหนี้ทั้งหมด สามารถเจรจาขอปิดหนี้ได้
- เปลี่ยนประเภทหนี้จากเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี เป็นเงินกู้ระยะยาว จะช่วยจ่ายดอกเบี้ยน้อยลง แต่การผ่อนชำระต่อเดือนมากขึ้น
ปรับโครงสร้างหนี้ ธนาคารกรุงไทย 2567
สำหรับธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. มีโครงการปรับโครงสร้างหนี้ คือ มาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน ปี 2567 ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2567 เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือนาน 1 ปี ประกอบด้วย
- มาตรการภาคครัวเรือน “HD1” สำหรับกลุ่มลูกค้าสถานะ SM ที่กู้เงินกับธนาคารมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ผ่อนชำระเงินงวดเดือนที่ 1-3 จำนวน 1,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี, เดือนที่4-6 ผ่อนชำระเงินงวดคำนวณจากอัตราดอกเบี้ย 1.90 % +100 บาท และเดือนที่ 7-12 ผ่อนชำระเงินงวดคำนวณจากอัตราดอกเบี้ย 3.90 % +100 บาท กรณีลูกค้าชำระเกินที่ธนาคารกำหนดให้นำไปตัดดอกเบี้ยค้างชำระ(หากมี)
- มาตรการภาคครัวเรือน “HD2” สำหรับกลุ่มลูกค้าสถานะ SM ที่กู้เงินกับธนาคารมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ผ่อนชำระเงินงวดเดือนที่ 1 – 3 คำนวณจากอัตราดอกเบี้ย 1.90% +100 บาท, เดือนที่ 4 – 6 ผ่อนชำระเงินงวดคำนวณจากอัตราดอกเบี้ย 3.90 % +100 บาท และเดือนที่ 7 – 12 ผ่อนชำระเงินงวดคำนวณจากอัตราดอกเบี้ย MRR-2% +100 บาท (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR ธอส. เท่ากับ 6.90% ต่อปี) กรณีลูกค้าชำระเกินที่ธนาคารกำหนดให้นำไปตัดดอกเบี้ยค้างชำระ (หากมี)
- มาตรการภาคครัวเรือน “HD3” สำหรับกลุ่มลูกค้าสถานะ NPL ที่กู้เงินกับธนาคารมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ผ่อนชำระเงินงวดเดือนที่ 1 – 4 จำนวน 1,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี, เดือนที่ 5-8 ผ่อนชำระเงินงวดคำนวณจากอัตราดอกเบี้ย 1.90 % +100 บาท และเดือนที่ 9 – 12 ผ่อนชำระเงินงวดคำนวณจากอัตราดอกเบี้ย 3.90% +100 บาท กรณีลูกค้าชำระเกินที่ธนาคารกำหนดให้นำไปตัดดอกเบี้ยค้างชำระ (หากมี)
ปรับโครงสร้างหนี้ คลินิกแก้หนี้ By Sam
การปรับโครงสร้างหนี้กับ คลินิกแก้หนี้ By Sam เป็นแนวทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแนะนำสำหรับผู้ที่รู้ตัวว่าชำระหนี้ไม่ไหวแล้ว และต้องการหาตัวช่วยก่อนที่จะเสียประวัติทางการเงินหรือเครดิต ซึ่งเงื่อนไขของการสมัครเข้าร่วมโครงการคลินิกแก้หนี้ มีดังนี้
- เป็นบุคคลธรรมดา ที่มีรายได้ อายุไม่เกิน 70 ปี
- เป็นหนี้เสียบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มี หลักประกันของสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ
- เป็นหนี้เสีย (NPL) ค้างชำระมากกว่า 120 วัน (ตามรายงานเครดิตบูโร ณ เดือนปัจจุบันต้องมีสถานะค้างชำระตั้งแต่ 121-150 วันขึ้นไป)
- หนี้รวมไม่เกิน 2 ล้านบาท
- ไม่เป็น บุคคลล้มละลาย
ผู้สนใจอยากที่จะสมัครปรับโครงสร้างหนี้ กับ Debt Clinic by SAM สามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.debtclinicbysam.com
ปรับโครงสร้างหนี้ เสียประวัติไหม
การปรับโครงสร้างหนี้ส่วนใหญ่จะต้องดำเนินการหลังจากที่เริ่มค้างชำระตั้งแต่ 120 วัน ขึ้นไป หรือเริ่มที่จะกลายเป็นหนี้เสีย (NPL) แล้ว แต่หากท่านสมัครเข้ารับการปรับโครงสร้างหนี้ก่อน ก็ถือว่าจะไม่เป็นการเสียเครดิต หรือเสียประวัติการเงิน เพราะไม่ใช้การไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ปล่อยให้ทรัพย์สินถูกยึด แต่เป็นการเข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือของภาครัฐ เพราะฉะนั้น หากท่านรู้ตัวว่าผ่อนชำระหนี้ไม่ไหวแล้วแน่ ๆ ให้เตรียมเอกสารเพื่อเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ ตั้งแต่เนิ่น ๆ จะเป็นการดีที่สุด