ขายอาหารออนไลน์เสียภาษีอย่างไร

การเสียภาษีนั้นถือเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนที่มีรายได้ ไม่ว่าคุณจะมีรายได้มากหรือน้อย ทุกบาททุกสตางค์นั้นอย่างน้อยก็ควรที่จะมีการรายงานต่อกรมสรรพากร เพราะหากคุณไม่ได้ใส่ใจและไม่ได้แสดงรายการรายได้ การโดนเก็บภาษีย้อนหลังนั้น จะเป็นความยากลำบากเสียยิ่งกว่าการเป็นหนี้ซึ่งอย่าหาว่าเราไม่เตือน ดังนั้นในครั้งนี้ เราจึงขอหยิบยกข้อมูลและสาระน่ารู้เกี่ยวกับอาชีพ “ขายอาหารออนไลน์” ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบอาชีพขายออนไลน์ ซึ่งไม่ว่าอยางไรก็ต้องแสดงรายการรายได้และต้องเสียภาษี ดังนั้นเราไปดูกันว่าการขายอาหารออนไลน์เสียภาษีอย่างไรนั้น เรามีคำตอบให้ที่นี่

 

ลิงก์ผู้สนับสนุน

ขายของออนไลน์ ขายได้เท่าไหร่ต้องยื่นภาษี

 

ขายอาหารออนไลน์เสียภาษีอย่างไร

ถือเป็นข้อสงสัยลำดับต้น ๆ ที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หลายท่านกังวลและต้องการทราบข้อมูลว่า แม้ทุกท่านจะขายอาหารออนไลน์ แต่การขายนั้นต้องได้ยอดขายเท่าไหร่จึงจะต้องยื่นแสดงรายการภาษี โดยคำตอบที่เราได้นั้น ผู้ขายออนไลน์จะถูกจัดให้อยู่ในสถานะบุคคลธรรมดา โดยจะต้องมีการยื่นแสดงรายการภาษีเงินได้โดย หากท่านมีรายได้จากการขายออนไลน์นั้น เกิน 60,000 บาท สำหรับคนโสดและหรือมีรายได้เกิน 120,000 บาทสำหรับกรณีสมรส ทุกท่านต้องยื่นภาษีโดยจะเป็นการยื่นภาษีเงินได้ประเภทที่ 8 ซึ่งยื่นแบบ ภ.ง.ด.90, 94 นั่นเอง

 

ขายอาหารออนไลน์เสียภาษีอย่างไร

การขายอาหารออนไลน์ที่ไม่ได้มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลนั้น ยังถือว่าเป็นบุคคลธรรมดา ดังนั้นทุกท่านต้องดำเนินการยื่นภาษีเงินได้ตามแบบของบุคคลธรรมดา โดยมีวิธีการคิดคำนวณภาษี 2 วิธีดังนี้

วิธีที่ 1

เป็นการคิดคำนวณจากเงินได้ทั้งหมดและหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนและดำเนินการคูณกลับด้านอัตราภาษีซึ่งจะเป็นการคิดคำนวณแบบขั้นบันได โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ซึ่งต้องเป็นรายได้หลังจากหักรายการต่าง ๆ แล้ว

  • เงินได้สุทธิ 1 – 150,000 ได้รับการยกเว้น แต่ก็ต้องยื่นแสดงรายได้อยู่ตามกฎหมาย
  • เงินได้สุทธิ 150,001 – 300,000 อัตราภาษีที่ 5%
  • เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 อัตราภาษีที่ 10%
  • เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 อัตราภาษีที่ 15%
  • เงินได้สุทธิ 750,001 – 1,000,000 อัตราภาษีที่ 20%
  • เงินได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000 อัตราภาษีที่ 25%
  • เงินได้สุทธิ 2,000,001 – 5,000,000 อัตราภาษีที่ 30%
  • เงินได้สุทธิ 5,000,001 – ขึ้นไป อัตราภาษีที่ 35%

ทั้งนี้การหักค่าใช้จ่ายนั้น กรมสรรพากรจะมีวิธีการหักให้ทุกท่าน 2 รูปแบบ คือ การหักแบบเหมา โดยจะอยู่ที่ประมาณ 60% ของรายได้และหารหักตามจริง ซึ่งต้องทำเป็นรายการบัญชีรายรับรายจ่ายและเก็บหลักฐานทั้งหมดไว้ในครบถ้วน

วิธีที่ 2

วิธีการนี้เป็นการคิดคำนวณอัตราภาษีที่ค่อยข้างง่ายและไม่ซับซ้อนมากนัก โดยทุกท่านสามารถดำเนินการคิดคำนวณได้ทันที โดยนำ เงินได้ คูณด้วย 0.5% ซึ่งจะเป็นจำนวนภาษีที่ทุกท่านต้องชำระนั่นเอง โดยในกรณีของการขายอาหารออนไลน์นั้น จะถูกจัดให้เป็นผู้เสียภาษีเงินได้ประเภทที่ 8 ซึ่งต้องมีการยื่นภาษี 2 รอบ โดยสามารถดำเนินการได้ตามรอบ ดังนี้

  • รอบแรก ช่วงสิ้นปี ซึ่งสามารถยื่นได้ตั้งแต่เดือน มกราคม – มีนาคม โดยใช้แบบยื่นภาษี ภ.ง.ด.90 โดยจะเป็นการสรุปรายได้ทั้งปีที่ผ่านมา
  • รอบที่สอง ช่วงกลางปี ซึ่งสามารถดำเนินการยื่นได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – กันยายน ด้วยแบบ ภ.ง.ด.94 โดยเป็นการยื่นรายการสรุปในช่วงครึ่งปีแรก โดยสามารถใช้ค่าลดหย่อนได้ครึ่งหนึ่ง

ยิ่งไปกว่านั้นสำหรับทุกท่านที่ ขายอาหารออนไลน์ ซึ่งมีสถานะคล้ายคลึงกับการเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์นั้น อาจจะต้องจ่าย “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” ด้วยในกรณีที่ทุกท่านมีรายได้เกิน 1.8 ล้านต่อปี โดยต้องมีการดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT ซึ่งอยู่ที่ 7% โดยประมาณของรายได้ทั้งหมด

 

อ้างอิง 1