ร้านขายของตกแต่งบ้าน ญี่ปุ่น น่าลงทุนไหม

“จะคุ้มไหม หากมีเงินทุนและต้องการลงทุนเปิดร้านขายของตกแต่งบ้านสไตล์ญี่ปุ่น” ทั้งนี้สำหรับทุกท่านที่กำลังมองหาธุรกิจที่ลงทุนก้อนใหญ่เพียงก้อนเดียว แต่เก็บกินผลกำไรได้นานคงต้องหันมาดูทางนี้ เพราะเราได้รวบรวมรายละเอียดและข้อมูลเกี่ยวกับการเปิด “ร้านขายของตกแต่งบ้าน ญี่ปุ่น น่าลงทุนไหม” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนที่มีการพูดถึงมากมายในขณะนี้ โดยอาจเรียกได้ว่าเริ่มต้นจากการเก็บของสะสมและพัฒนาจนเริ่มบานปลายเป็นร้านขายของตกแต่งก็ยังได้ ดังนั้น สำหรับท่านที่ต้องการไอเดียด้านธุรกิจจงอย่ารอช้า เราตามมาดูกันเลย

 

ร้านขายของตกแต่งบ้าน ญี่ปุ่น น่าสนใจอย่างไร

 

ร้านขายของตกแต่งบ้าน ญี่ปุ่น น่าลงทุนไหม

แทบไม่ต้องง้อ IKEA หรือร้านขายของตกต่างบ้านสไตล์ญี่ปุ่นอย่าง Muji เพราะการเปิดร้านขายของแต่งบ้านกำลังเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่สามารถทำรายได้อย่างน่าสนใจไม่น้อย เพราะด้วยการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้เกิดโครงการบ้านจัดสรรจำนวนมาก และมีหมู่บ้านน้อยใหญ่มากมายหลายแห่งที่เปิดให้จอง ทั้งนี้ยังรวมไปถึงคอนโดหรือห้องแถวที่พร้อมตกแต่งให้เข้าอยู่ได้ทันที โดยการเลือกตกแต่งบ้านสไตล์ญี่ปุ่นนั้นก็เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ยอดนิยม ซึ่งทำให้การเปิดร้านและดำเนินธุรกิจขายสินค้าและของตกแต่งบ้านสไตล์ญี่ปุ่นจึงเข้ามาเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนทำธุรกิจ

โดยหากคุณยังมีข้อสงสัยหรือมีประเด็นคาใจ ว่าการเปิดร้านขายของตกแต่งบ้านสไตล์ญี่ปุ่นนั้น น่าสนใจอย่างใจ ต่อจากนี้จะเป็นข้อสนับสนุนที่เราค้นหามาให้ ตามไปดูกัน

แนวคิดและความสะดวกในการให้บริการ

ความเรียบง่ายและการคงสภาพเดิมพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้อยู่อาศัยใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด คือ สไตล์หลักสำคัญที่ถือว่าเป็นลักษณะเด่นของการตกแต่งบ้านแบบญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ ผสมผสานกับเครื่องใช้และของตกแต่งอื่น ๆ ซึ่งเน้นโทนสีขาวและเอิร์ธโทน สามารถสร้างความสมดุลและให้ความอบอุ่นให้เกิดขึ้นภายในบ้านได้เป็นอย่างดี และเมื่อพิจารณาถึงการเริ่มต้น และดำเนินธุรกิจขายของตกแต่งบ้านสไตล์ญี่ปุ่นนั้น ณ เวลานี้ ก็มีปัจจัยเสริมมากมายที่จะสามารถส่งเสริมให้การดำเนินธุรกิจสามารถดำเนินไปได้สะดวกและง่ายมากยิ่งขึ้น เช่น เรื่องการขนส่ง การนำเข้า การหาสินค้าจากประเทศญี่ปุ่น ตลาดจนการให้รายละเอียดเชิงลึกของสินค้าและของตกต่างบ้านทั้งหมดนั้นมีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

เสน่ห์ของญี่ปุ่น

“ความเป็นญี่ปุ่น คือ จดขายสำคัญ” เมื่อคุณเปิดร้านขายของตกแต่งบ้านสไตล์ญี่ปุ่น คุณจะมีโอกาสให้ลูกค้าได้สัมผัสความงามและเสน่ห์ของการตกแต่งบ้านสไตล์นี้ ทั้งนี้สินค้าสไตล์ญี่ปุ่นที่คุณสามารถจัดจำหน่ายได้นั้น อาจจะรวมถึงเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ในบ้าน เครื่องใช้ตกแต่ง ของตกแต่งภายใน เช่น เสื่อ หมอน โคมไฟ กระเบื้อง เครื่องประดับ และอื่น ๆ โดยอาจจะเป็นสินค้าและของตกแต่งบ้านไอเดียที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ญี่ปุ่นที่เน้นความเป็นธรรมชาติ เน้นประโยชน์ใช้ส่อยสูงสุดจากทุกแง่มุมทั้งในเรื่องของพื้นที่และราคาของสินค้า ดังนั้นจึงแทบไม่ต้องมานั่งอธิบายว่าจะเปิดร้านขายของตกแต่ง ญี่ปุ่น น่าสนใจไหม เพราะด้วยรูปแบบและเสน่ห์ของความเป็นญี่ปุ่นก็กินขาดแล้ว

เพิ่มเติมด้วยบริการเสริมอื่น ๆ

นอกจากนี้ คุณอาจพิจารณาให้บริการการประกอบหรือติดตั้งสินค้าเพิ่มเติมให้กับลูกค้าที่ซื้อสินค้าชิ้นใหญ่ได้อีกด้วย เช่น การบริการออกแบบภายในหรือการให้คำแนะนำในการตกแต่งบ้านสไตล์ญี่ปุ่น เพื่อช่วยลูกค้าให้สามารถสร้างบรรยากาศในแบบฉบับที่พวกเขาต้องการให้ออกมาเป็นบ้านสไตล์ญี่ปุ่นของตนได้อย่างสมบูรณ์และน่าประทับใจ ดังนั้นสำหรับเราแล้วการเปิดร้านขายของตกแต่งบ้านสไตล์ญี่ปุ่น ซึ่งสามารถเป็นได้มากกว่าแค่ร้านขายของ ซึ่งสามารถเป็นเหมือนจุดให้บริการที่ครบวงจร ถ้าอยากได้บ้านแบบญี่ปุ่นต้องมาที่เรา

ทั้งนี้สำหรับท่านที่สนใจและอาจจะต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปิดร้านขายของตกแต่งบ้านสไตล์ญี่ปุ่น ในส่วนต่อจากนี้ เราได้หยิบยกสาระเพิ่มเติม โดยจะเป็นการนำเสนอตัวอย่างของการเปิดร้านขายของตกแต่งบ้าน ญี่ปุ่น ที่น่าสนใจและน่าจะสามารถให้ข้อมูลกับทุกท่านได้ว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

 

ศึกษาจาก “MUJI”

 

ร้านขายของตกแต่งบ้าน ญี่ปุ่น น่าลงทุนไหม

สำหรับการเปิดร้านขายของตกแต่งบ้าน ญี่ปุ่นนั้น การเริ่มต้นศึกษาและดูแบบอย่างจากบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เริ่มแนวทางนี้ไว้ ย่อมเป็นสิ่งที่ค่อยพิจารณา ดังนั้นในส่วนนี้หากเราจะเริ่มต้นธุรกิจการเปิดร้านขายของตกแต่งบ้านสไตล์ญี่ปุ่น “Muji” คือกรณีศึกษาและแบบอย่างที่ดี ซึ่งเราควรต้องทำความเข้าใจ

MUJI เป็นอีกหนึ่งไลฟ์สไตล์สโตร์ชื่อดังจากประเทศญี่ปุ่นที่ไม่เพียงแต่จะเปิดให้บริการขายของตกแต่งบ้าน แต่ยังรวมไปถึงเสื้อผ้า กางเกง รองเท้า โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น MUJI ย้ำมั่นใจในตลาดอย่างมาก โดยทุ่มแปลงโฉมร้านทุกสาขาให้เป็นร้านซึ่งต้องนำเสนอประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้าทั้งนั้น ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา ร้าน MUJI หลาย ๆ แห่งจึงเน้นการเป็นมากกว่าร้านขายของ โดยพร้อมนำเสนอประสบการณ์อื่น ๆ ให้กับลูกค้าควบคู่ไปด้วย เช่น มุมร้านกาแฟ มุมหนังสือ โซนเวิร์กช้อป จุดให้บริการปรับขนาดเสื้อผ้า ปักผ้า โดยทั้งหมดจะต้องเป็นร้านที่สามารถแสดงสินค้าได้มากที่สุด ซึ่งสำหรับการแปลงโฉมร้านใหม่นี้ จึงนำมาซึ่งรูปแบบการให้บริการสินค้าที่หลากหลาย และสอดรับกับแนวคิดการ “เป็นมากกว่าร้านขายของ” โดยมีรายการสินค้าที่ลงใหม่มากมาย เช่น

  • บ้านจำลอง (Showroom) ส่วนนี้จะเป็นการจำลองการตกแต่งบ้านสไตล์ญี่ปุ่นที่พร้อมนำเสนอสินค้าและข้าวของเครื่องใช้ของร้าน เรียกได้ว่าพร้อมเรียกแขกให้หลงเสน่ห์เต็มกำลัง
  • โซนขายอาหารและขนม เปิดร้านขายของตกแต่งบ้านทั้งที ก็ต้องมีเครื่องดื่มพร้อมอาหารขาย เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้เวลาอยู่ภายในร้านได้นานมากขึ้น ซึ่งท้ายที่สุดย่อมนำไปสู่การซื้อสินค้าสักชิ้นกลับบ้านแน่นอน
  • MUJI IDÉEของใช้ในบ้าน สินค้าไอเดีย และเสื้อผ้ารูปแบบใหม่ ที่นำสิ่งของในชีวิตประจำวันมาออกแบบใหม่ ให้มีสีสันมากขึ้นกว่าเดิม
  • มุมเด็ก นอกจากเปิดโอกาสให้พ่อแม่ผู้ปกคริงได้ใช้เวลาอยู่ในร้านนานขึ้น ส่วนนี้ก็จะได้รับการพัฒนามาเพื่อน้อง ๆ เด็ก ๆ ให้ได้มาแสดงไอเดียสร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นโซนพิเศษสำหรับบางสาขา
  • MUJI Greenคือต้นไม้ที่มูจิคัดสรรมาให้เหมาะกับการเลี้ยงในสภาพแวดล้อมภายในบ้าน สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างลงตัว
  • มุมกาแฟ และขนมเค้ก MUJI Labo, ReMUJI, MUJI WALKER, ONE-SIZE และบริการปักลายผ้า

ทั้งหมดนี้เป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบร้านของ MUJI สาขา “New Concept Store” ซึ่งจขากที่เราได้รับข้อมูลและรายละเอียดของรูปแบบการเปิดร้านขายของตกแต่งบ้าน ญี่ปุ่นนั้น จึงสามารถสรุปแนวคิดสำคัญได้ว่า หากคุณต้องการเปิดร้านขายของตกแต่งบ้านสไตล์ญี่ปุ่นนั้น การเป็นให้มากกว่าร้านขายของธรรมดา จะเป็นแนวคิดหลักที่ต้องพิจารณาเพราะเมื่อลูกค้ามีโอกาสได้เห็น ได้ใช้และได้สัมผัสสินค้าจริง ๆ พร้อมกับประสบการณ์ใหม่ที่ทางร้านมอบให้ เพียงเท่านี้ก็น่าจะเพียงที่จะทำให้ลูกค้าต้องหยิบจับสินค้าและซื้อกลับบ้านอย่างแน่นอน โดยแทบจะไม่ต้อง Hard Sell หรือใช้พนักงานขายเชิงรุก ซึ่งจะเป็นการกดดันลูกค้ามากเกินไป

ปลาใหญ่จะกินปลาเล็กไหม

ในการดำเนินธุรกิจ แทบทุกรายการ ถือเป็นเรื่องปกติที่กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่จะได้เปรียบและสามารถเอาชนะร้านค้ารายย่อยหรือบริษัทเล็ก ๆ โดยในส่วนของการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการเปิดร้านขายของตกแต่งบ้านสไตล์ญี่ปุ่นนั้น จริงอยู่ว่าบทวามของเราแนะนำให้ทุกท่านลองพิจารณาและศึกษารูปแบบการกำหนดแนวทาง การให้บริการตาม “MUJI” ซึ่งเป็นร้านใหญ่ แต่ในท้ายที่สุดสำหรับการเปิดร้านของตนเองหากท่านมีเงินทุนเพียงพอ สามารถหาแหล่งผลิตสินค้าได้โดยตรง และมีพื้นที่เป็นของตนเอง การเริ่มต้นลงทุนและเปิดกิจการร้านขายของตกแต่งบ้าน ญี่ปุ่นก็จะเป็นธุรกิจที่น่าสนใจและสามารถดำเนินการได้โดยไม่เจ็บตัวมากนัก

แต่ถ้าท่านเองมีเงินทุนจำกัด ต้องเช่าพื้นที่และไม่มีสายการผลิตสินค้าของตนเอง ต้องเป็นการหาสินค้าลักษณะที่ “ซื้อมา – ขายไป” เราคงต้องบอกตามตรงว่าโอกาสที่ปลาใหญ่จะกินปลาเล็กนั้นก็มีอยู่มากทีเดียว ดังนั้น ไม่ว่าจะตัวท่านเองจะติดสินใจเลือกทำธุรกิจประเภทใด การศึกษาและหาข้อมูลทั้งจากประสบการณ์จริง การรีวิวหรือสอบถามกูรู ผู้รู้เพื่อให้ได้รายละเอียดและข้อมูลที่เพียงนั้น คือ สิ่งที่มีความสำคัญสูงสุดและจะไม่ทำให้ท่านเองต้องมานั่งเสียใจกับการดำเนินธุรกิจที่ล้มเหลว

 

สรุปข้อดี – ข้อเสีย การเปิดร้านขายของตกแต่งบ้าน ญี่ปุ่น

 

ร้านขายของตกแต่งบ้าน ญี่ปุ่น น่าลงทุนไหม

ข้อดี

  • สามารถศึกษาจากโมเดลที่ประสบความสำเร็จแล้ว
  • มีจุดเด่นที่ขัดเจน และมีลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่ชัดเจนเช่นกัน
  • สามารถเลือกรูปแบบธุรกิจได้หลากหลาย ทั้ง เปิดแบบมีหน้าร้าน ขายออนไลน์
  • สินค้าที่ขายสามารถคงสภาพได้นาน ไม่เสีย
  • ลงทุนได้ตั้งแต่หลักพัน สำหรับการเปิดขายผ่านช่องทางออนไลน์

ข้อเสีย

  • Volume น้อย ตลาดค่อนของแคบ
  • เป็นสินค้าที่เป็นไปตามเทรนด์และความนิยม ดังนั้น ต้องติดตามเทรนด์ตลาด
  • มีปลาใหญ่ในธุรกิจ
  • ต้องมีแหล่งที่มาของสินค้าของตนเอง ไม่ควรซื้อมาขายไป เพราะจะได้ผลกำไรน้อยมาก

คำแนะนำเพิ่มเติม

การลงทุนเปิดร้านขายของตกแต่งบ้าน ญี่ปุ่นตามความเห็นของเรานั้น มีคำแนะนำว่าการดำเนินธุรกิจประเภทนี้เป็นธุรกิจที่มีกลุ่มทุนใหญ่เป็นตัวขับเคลื่อนเทรนด์ ดังนั้นหากท่านต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในตลาด ควรเริ่มต้นด้วยต้นทุนที่น้อยที่สุด ซึ่งอาจจะเริ่มจากการโพสขายสินค้าออนไลน์ โดยสินค้าที่ได้มาก็ควรจะเป็นสินค้าและของตกแต่งบ้านเริ่มต้นจากของมือสองก็ได้ โดยอาจจะได้มาจากการประมูล หรือการฝากซื้อ ซึ่งจะเป็นการเริ่มต้นที่ปลอดภัยที่สุด และค่อย ๆ สร้างความน่าเชื่อถือและชื่อเสียง ไม่ควรลงทุนรับสินค้าจากโรงงานโดยตรงเพราะจะต้องใช้เงินทุนที่สูงมาก และยากต่อการเอาชนะกลุ่มทุนใหญ่ที่ครองตลาดอยู่แล้วในขณะนี้ ทั้ง MUJI และ NITORI หรือร้านขายสินค้ามือสองจากประเทศญี่ปุ่นอย่าง Masaru Japan Store เป็นต้น

อ้างอิง 1 2