แฟรนไชส์ ฟิตเนส ราคาเท่าไหร่ น่าลงทุนไหม

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ธุรกิจที่สวนกระแส เพราะเหล่าบรรดาแฟรนไชส์ธุรกิจยักษ์ใหญ่หลาย ๆ แห่งต่างพากันปิดตัวและหยุดกิจการ แต่สำหรับแฟรนไชส์ ฟิตเนส กลับมีแนวโน้มและสัญญาณที่น่าสนใจไม่น้อยเลยในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้เหล่านักลงทุนและทุกท่านที่กำลังเล็งหาธุรกิจตัวใหม่ที่สามารถต่อยอดและกินได้แบบยาว ๆ นั้น ต่างพากันศึกษาและเข้ามาตามดูรายละเอียดของธุรกิจแฟรนไชส์ตัวนี้

ดังนั้น เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา ครั้งนี้เราจึงมาพร้อมกับบทความแนะนำรายละเอียดและข้อมูลเพื่อตอบคำถามและไขข้อสงสัยของหลาย ๆ ท่านเกี่ยวกับประเด็น “แฟรนไชส์ ฟิตเนส ราคาเท่าไหร่ น่าลงทุน” วันนี้เราจะได้คำตอบกัน

 

แฟรนไชส์ ฟิตเนส เติบโตจริงหรือ?

 

แฟรนไชส์ ฟิตเนส ราคาเท่าไหร่ น่าลงทุนไหม

การทำธุรกิจเปิดฟิตเนสหรือยิมออกกำลังกายนั้น ถือเป็นอีกหนึ่งภาพสะท้อนไลฟ์สไตล์ของคนที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป จากที่เคยออกไปวิ่งออกกำลังกายตามสวนสาธารณะ สนามกีฬา หรืออาจจะเป็นพื้นที่ส่วนกลางของคอนโด หมู่บ้าน ปัจจุบันกลับต้องเดินเข้ายิม เข้าฟิตเนส แบบเป็นเรื่องเป็นราว เพื่อให้เทรนเนอร์ช่วยดูแล โดยจากรายละเอียดและข้อมูลของเพจเกี่ยวกับ SME ดำเนินการจัดทำโดยธนาคารกรุงเทพ พบว่า จากปี 2559 – 2561 นั้น ธุรกิจฟิตเนสมีการเจริญเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยมูลค่าทุนจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 3 ปี อยู่ที่ 377 ล้านบาทโดยประมาณ โดยเป็นการเพิ่มจากเดิมถึง 30% และในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานั้น แม้ว่าจะเป็นช่วงเวลาของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ซึ่งส่งผลกระทบอย่างนักต่อการดำเนินธุรกิจฟิตเนส แต่เมื่อมีการผ่อนมาตรการและกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติ การดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ ฟิตเนสก็กลับมาคึกคักทันที สอดรับกับความต้องการในการดูแลสุขภาพ รูปร่างและการเข้าสังคม ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสำหรับคนยุคใหม่นี้ ซึ่ง สามารถอธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ ว่ารุ่นพ่อรุ่นแม่ อาจจะพบรักกันที่วัด ที่ผับบาร์ แต่คนสมัยนี้เขาพบรักกันที่ฟิตเนสแล้ว เพราะทุกแห่งมีคนเข้าใช้บริการมากจริง ๆ

 

เปิดฟิตเนส น่าสนใจอย่างไร

 

แฟรนไชส์ ฟิตเนส ราคาเท่าไหร่ น่าลงทุนไหม

แฟรนไชส์ ฟิตเนสจะไปรอดได้อย่างไร หลาย ๆ ท่านก็คงจะยังมีข้อสงสัยและมีประเด็นคำถาม แต่ด้วยเทรนด์ไลฟ์สไตล์รักสุขภาพ หรือ Sport Style นั้นยังคงแรงไม่มีหยุด ประกอบกับข้อจำกัดด้านเวลา สถานที่และสภาพอากาศ ส่งผลให้คนที่รักการออกกำลังต้องหาสถานที่ซึ่งก็คงจะหนีไม่พ้นในยิมหรือที่ฟิตเนส ส่งผลให้ธุรกิจฟิตเนสนั้นจึงมีการปรับตัวเพื่อตอบรับกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนั้น เราจะเห็นฟิตเนสมากมายหลากหลายรูปแบบ เช่น ฟิตเนส 24 ชั่วโมง ฟิตเนสขนาดเล็กเน้นลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่ต้องการเทรนเนอร์ส่วนตัว Studio ที่เน้นการเต้นผสมผสาน ยิมสำหรับฝึกมวยและฟิตเนสแบบดั่งเดิมก็ยังคงมี

ดังนั้นแล้ว ด้วยปัจจัยเสริมที่มีมากมาย พร้อมกับการนำเสนอรูปแบบการให้บริการที่หลากหลาย จึงทำให้แฟรนช์ ฟิตเนสนั้นจึงมีความน่าสนใจและสามารถเป็นทางเลือกในการลงทุนได้ และเพิ่มเติมข้อมูลจากสถิติธุรกิจที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนธุรกิจฟิตเนสไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจชุดกีฬาและอุปกรณ์กีฬานั้น ทั้งหมดต่างมีแนวโน้มการเติบโตสอดคล้องกับธุรกิจ แฟรนไชส์ ฟิตเนส เนื่องจากชุดกีฬานอกจากจะใส่เพื่อความสะดวกในการออกกำลังกายแล้ว ยังเป็นเทรนด์แฟชั่นของคนในปัจจุบัน  รวมทั้งอุปกรณ์ของฟิตเนส ที่มีความทันสมัยและมีความหลากหลายมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เสริมสร้างกล้ามเนื้อ อุปกรณ์ช่วยในการเบิร์น ล้วนตอบโจทย์เทรนด์การรักษาสุขภาพได้อย่างดี ทั้งนี้จึงไม่แปลกที่ธุรกิจแนวนี้จะเป็นเทรนด์ที่น่าสนใจและนำมาซึ่งบทความของเราในครั้งนี้

 

แฟรนไชส์ ฟิตเนส ราคาเท่าไหร่

 

แฟรนไชส์ ฟิตเนส ราคาเท่าไหร่ น่าลงทุนไหม

จะเปิดให้บริการฟิตเนส ลงุทนเท่าไหร่ ส่วนนี้จะเป็นข้อคำถามหลักที่นักลงทุนทุกท่านจะต้องพิจารณา โดยการเปิดฟิตเนสแม้ว่าภาพลักษณ์ภายนอก จะเห็นว่ามีจำนวนลูกค้าและผู้คนเข้าใช้บริการมากมาย แต่เบื้องหลังสำหรับการดูแลและการบริหารกิจการนั้น ย่อมมีค่าใช้จ่ายและภาระการดูแลอีกมากมาย ทั้งเรื่องของค่าพื้นที่ ค่าใช้จ่ายเรื่องเครื่องออกกำลังกาย และรวมไปถึงค่าแฟรนไชส์ โดยในส่วนต่อจากนี้ เราจึงได้รวบรวมและขอนำเสนอค่าใช้จ่ายที่เป็นการประมาณการ

ค่าพื้นที่

ถือเป็นต้นทุนแรกที่ต้องคำนวณ เพราะหากคุณเลือกทำเลที่ตั้ง ซึ่งเป็นพื้นที่ซึ่งมีคนพลุกพล่าน หรือมีที่จอดรถ เมื่อลงทุนซื้อพื้นที่ ราคาย่อมสูงและจะเป็นต้นทุนค้างติดมือคุณไปทันที ทั้งนี้ส่วนใหญ่แล้ว เจ้าของกิจการฟิตเนสมักจะเลือกการเช่าพื้นที่มากกว่าการซื้อ โดยค่าใช้จ่ายต่อเดือนสำหรับการเช่าพื้นที่ขนาดที่เหมาะสมสำหรับการทำฟิตเนสนั้น ก็ควรไม่ต่ำกว่า 50 ตารางเมตร โดยค่าเช่าก็จะเฉลี่ยอยู่ที่เดือนละไม่ต่ำกว่า 30,000 – 50,000 บาท

ค่าก่อสร้างและตกแต่ง

สำหรับฟิตเนสขนาดเล็ก ค่าใช้จ่ายสำหรับการก่อสร้างและการตกแต่งนั้น อาจจะใช้ต้นทุนอยู่ราว ๆ 500,000 – 800,000 บาท โดยค่าอุปกรณ์สำหรับการตกแต่ง หลายรายการอาจจะมีออฟชั่นสำหรับการเช่า ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการซื้อ ดังนั้นก่อนที่ท่านจะดำเนินการลงทุนเต็มรูปแบบสำหรับฟิตเนส ประเด็นของเครื่องออกกำลังกายก็เป็นส่วนที่สำคัญและต้องเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายก่อนที่จะตัดสินใจ

ทั้งนี้หากคุณตัดสินใจที่จะซื้อเครื่องออกกำลังทั้งหมด ราคาเริ่มต้นสำหรับรายการเครื่องออกกำลังสำหรับฟิตเนสขนาดเล็ก ก็จะอยู่ที่ราว ๆ 300,000 บาท และอาจขึ้นไปสูงถึงหลัก 1.5 ล้านบาททันทีสำหรับฟิตเนสขนาดใหญ่ โดยจะมีรายการเครื่องออกกำลังกายที่ควรจะมีสำหรับฟิตเนสมาตรรฐานทั่วไป ดังนี้

  • ลู่วิ่งไฟฟ้า
  • จักรยานปั่น
  • เครื่องเดิน
  • ดัมเบล
  • บาร์เบล
  • Weight Bench
  • Strength Machine
  • Smith Machine

โดยข้อแนะนำที่เราอยากให้ท่านพิจารณาคือ การเลือกซื้อเครื่องที่มีความจำเป็นสำหรับการเลือกเปิดฟิตเนสขนาดเล็ก หรือ Home Fitness และพิจารณาเลือกจากคุณภาพและการให้บริการหลังการขายสำหรับเครื่องออกกำลังกายที่เป็นเครื่องไฟฟ้า หรือเครื่องที่จะต้องมีการดูแลระบบเป็นอย่างดี ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการเสียหรือเสื่อมสภาพ

ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับใบอนุญาตและประกันภัย

ค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินธุรกิจซึ่งจะต้องมีการขึ้นทะเบียนและจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ไม่เกิน 10,000 บาท ต่อปี และอาจจะมีการเก็บค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับใบอนุญาตการจัดตั้งสถานที่ จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งทั้งหมดจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย พร้อมทั้งการทำประกันภัยเพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดได้ เช่น

  • การทำประกันอัคคีภัย ราคาเริ่มต้นที่ 2,000 – 30,000 บาท
  • การทำประกันร้านค้า ราคาเริ่มต้นที่ 5,000 บาท
  • การทำประกันธุรกิจ ราคาเริ่มต้นที่ 1,500 – 5,000 บาท

ค่าพนักงาน

เริ่มต้นที่พนักงงานต้อนรับ พนักงานดูแลลูกค้า เทรนเนอร์ และรวมไปถึงแม้บ้าน ทั้งหมดสามารถเริ่มต้นพิจารณาค่าจ้างได้จากอัตราค่าแรงขั้นต่ำซึ่ง ณ เวลานี้ก็ควรจะปรับขึ้นไปอยู่ที่ 400 – 450 บาทเป็นอย่างน้อยแล้วสำหรับเมืองใหญ่ ๆ ที่มีค่าครองชีพค่อนข้างสูง โดยจะมีรายละเอียดของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานคร่าว ๆ ดังนี้

  • พนักงานประจำฟิตเนส เงินเดือน 15,000 – 20,000 บาท
  • พนักงงานดูแลลูกค้า เงินเดือน 15,000 – 20,000 บาท
  • ช่างและฝ่ายซ่อมบำรุง เงินเดือน 15,000 บาท
  • เทรนเนอร์ เงินเดือน 15,000 – 30,000 บาท
  • พนักงานขาย เงินเดือน 15,000 บาท
  • แม่บ้าน 10,000 บาท

รวมแล้วค่าใช้จ่ายสำหรับพนักงานที่จะต้องทำหน้าที่ดำเนินการงานของฟิตเนสจะอยู่ที่ 80,000 บาทเป็นอย่างน้อย ดังนั้นเมื่อนำค่าใช้จ่ายทั้งหมดซึ่งเกี่ยวกับการบริหารและการดูแลฟิตเนสมารวมและคูณอย่างน้อย 6 เดือนเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับเลี้ยงธุรกิจ จะมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นซึ่งจะเป็นต้นทุนอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท โดยหากตัดค่าใช้จ่ายในส่วนของพนักงานออกไปก่อนเพื่อพิจารณาเฉพาะการลงทุนเริ่มแรก ก็จะสามารถสรุปได้ว่า การเปิดฟิตเนส จะต้องมีเงินลงทุนอย่างน้อย ๆ ก็ หลัก 500,000 – 600,000 บาทขึ้นไป

 

ลงทุนแฟรนไชส์ฟิตเนส ที่ไหนดี 

 

แฟรนไชส์ ฟิตเนส ราคาเท่าไหร่ น่าลงทุนไหม

ในส่วนนี้จะเป็นการแนะนำรายละเอียดและข้อมูลของแฟรนไชส์ฟิตเนสที่น่าสนใจ และเปิดให้มีการเข้ามาร่วมลงทุนในลักษณะของแฟรนไชส์ ซึ่งทุกท่านที่สนใจก็สามารถเข้ามาศึกษาและดูรายละเอียดได้ ดังนี้

Fitness 7

 

แฟรนไชส์ ฟิตเนส ราคาเท่าไหร่ น่าลงทุนไหม

แฟรนไชส์ฟิตเนสน่าลงทุนสำหรับคนรักสุขภาพและชื่นชอบการออกกำลัง ทั้งนี้ แฟรนไชส์ฟิตเนสนี้เน้นการเปิดให้บริการลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีการกำหนดค่าแฟรนไชส์แรกเริ่มไว้ที่ 8 ล้านบาท ด้วยระยะเวลาการทสัญญา 10 ปี มีการเก็บค่ารอยัลตี้ 28% ต่อเดือน โดยหลายท่านที่เป็นผู้รู้ด้านธุรกิจต่างคาดการณ์ว่าจะสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลา 36 เดือน

Getfit

 

แฟรนไชส์ ฟิตเนส ราคาเท่าไหร่ น่าลงทุนไหม

Fitness สำหรับคุณสภาพสตรีโดยเฉพาะ กับ Getfit ซึ่งเป็นฟิตเนสและสถานที่ออกกำลังกายที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถประสบความสำเร็จได้ทั้งในประเทศสหรับอเมริกาและในทวีปยุโรป โดยเป็นฟิตเนสที่นำเสนอภาพลักษณ์ของความปลอดภัย สามารถตอบสนองความต้องการของผู้หญิงได้ตรงประเด็น ไม่ว่าจะเป็นสายรักสุขภาพ ต้องการลดน้ำหนักหรือต้องการมีรปร่างที่ดียิ่งขึ้น โดยแฟรนไชส์นี้เริ่มขายที่ 750,000 บาทเท่านั้น

ทั้งนี้เมื่อเข้าดูรายละเอียดและพิจารณาเงื่อนไขต่าง ๆ ของการเริ่มต้นดำเนินธุรกิจฟิตเนส ทุกท่านที่ต้องการลงทุนก็ควรมีเงินทุนอย่างน้อย ๆ ก็หลัก 650,000 – 750,000 บาท ขึ้นได้ ซึ่งจะทำให้การบริหารแฟรนไชส์นั้นไม่เกิดปัญหาด้านการเงิน ขาดเงินทุน ขาดสภาพคล่อง ซึ่งท้ายที่สุดก็จะทำให้ธุรกิจของท่านขาดทุนนั่นเอง

 

ข้อสังเกตสำหรับการลงทุน

ในเมื่อธุรกิจฟิตเนสนั้นเริ่มเป็นที่นิยมและเป็นที่สนใจมากขึ้น ก็เป็นธรรมดาที่จะมีคู่แข่งค่อนข้างมาก ซึ่งไม่เพียงเฉพาะกลุ่มนักธุรกิจ นายทุนชาวไทย แต่ยังรวมไปถึงนายทุนจากต่างประเทศที่เข้ามาแย่งส่วนแบ่งในตลาดออกไปอีกด้วย ดังนั้นแล้วเมื่อเทียบกับจำนวนผู้บริโภคและกำลังซื้อของคนที่ต้องการออกกำลังกาย ตลาดนี้อาจจะต้องมุ่งเน้นและพิจารณากลุ่มลูกค้าเฉพาะ หรือเน้นธุรกิจขนาดเล็กเป็นสำคัญ เพื่อไม่ให้เกิดภาระการแบกต้นทุน ซึ่งอย่างที่พอจะทราบกันดีว่าแฟรนไชส์ ฟิตเนสนั้นค่อนข้างมีภาระต้นทุนที่สูงทีเดียว

ดังนั้นนอกจากจะเป็นการพิจารณาลงทุนในธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดกลางแล้ว นักลงทุนควรจะต้องนำเสนอไอเดียที่แปลกใหม่หรืออาจจะเป็นการนำเสนอการให้บริการเฉพาะสำหรับลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น ฟิตเนสสำหรับผู้หญิง หรือฟิตเนสสำหรับผู้สูงวัย ซึ่งก็จะสามารถนำเสนอเพคเกจเสริมที่เป็นการดูแลสุขภาพ อาหารการกิน ที่เน้นไปตามกลุ่มเฉพาะของลูกค้าได้อีกด้วย ซึ่งในตลาดนี้ต้องขอบอกไว้ก่อนเลยว่า การทำให้ลูกค้ามีความประทับใจนั้น คือสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุด ซึ่งหากคุณสามารถสร้าง Brand Royalty ให้เกิดขึ้นนได้ ยังไงก็อยู่รอดแน่นอน

ซึ่งในอนาคตนั้น นอกจากที่เราจะเห็นการแข่งขันกันอย่างดุเดือดของธุรกิจ ฟิตเนสแล้ว เราอาจจะมีโอกาสได้เห็นการร่วมมือกันระหว่างโรงพยาบาล สถานเสริมความงาม สถานดูแลผู้สูงอายุ กับฟิตเนสเพื่อนำเสนอการให้บริการที่แปลกใหม่และเฉพาะกลุ่มมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอยสนองความต้องการที่จะมีเพิ่มมากขึ้นแน่นอนในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นลูกค้ากลุ่มใดก็ตาม

 

อ้างอิง 1 2