กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษี 2565

ถือเป็นประเด็นและเคล็ดลับสำคัญของเหล่ามนุษย์เงินเดือนทุกท่านที่ต้องทราบ เพราะกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษี 2565 นั้น หากจากจะลดหย่อนภาษีเงินได้แล้ว ยังสามารถเป็นการเก็บออมเพื่อสร้างความมั่นคงในอนาคต เมื่อทุกท่านเกษียณอายุงานอีกด้วย โดยในปี 2565 นี้ นอกจากที่หลาย ๆ ท่านจะเดินหน้าทำประกัน จับจ่ายใช้ส่อยตามโครงการของรัฐบาล การนำเงินที่ได้รับในทุก ๆ เดือนมาลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษี 2565 คือเป้าหมายหลักอีกประการที่ทุกท่านสามารถตั้งเป้าไว้ เมื่อถึงคราวต้องยื่นและแสดงรายการภาษีเงินได้ปี 2565 ซึ่งจะมาถึงในอีกไม่เกิน 6 – 8 เดือนข้างหน้า

ดังนั้นในครั้งนี้ เราจึงจะขอนำเสนอบทความที่แสดงรายละเอียดและพร้อมบอกเล่าข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ด้วยบทความ “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษี 2565” ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษี 2565 คืออะไร

 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษี 2565

มนุษย์เงินเดือนทุกท่าน เคยสงสัยหรือไม่ว่าเงินเดือนที่ท่านได้รับในแต่ละเดือนนั้น มันจะหักอะไรกันนักกันหนา ซึ่งบางท่านก็ถูกหักเสียจนไม่เหลือเงิน และหนึ่งในรายการที่มีการหักอย่าง เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็ไม่ทราบแน่ชัดว่าท่านจะได้รับประโยชน์เมื่อใด วันนี้เรามีคำตอบให้ทุกท่านที่นี่ โดย เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund (PVD) คือกองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น ด้วยความสมัครใจ โดยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีข้อดีตรงที่ ลูกจ้างหรือในที่นี้คือเหล่ามนุษย์เงินเดือนสามารถเก็บเป็นเงินสำรองไว้เพื่อใช้จ่ายยามเกษียณอายุ ออกจากงาน ทุพพลภาพ หรือเป็นหลักประกันให้แก่ครอบครัว ในกรณีที่ลูกจ้างเสียชีวิต

โดยเงินจำนวนนี้จะมาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายเข้ากองทุนส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสะสม” และเงินที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนให้อีกส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสมทบ” แล้วนำไปฝากไว้ให้กับ “บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน” (บลจ.) ช่วยบริหารจัดการและนำเงินไปลงทุน เพื่อให้เงินในกองทุนของเรานั้นงอกเงยด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษี 2565 นี้

ทั้งนี้ สำหรับหลายท่านที่ก้มลงมองสลิปเงินเดือน แล้วอาจจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับจำนวนและ อัตราในการคิดคำนวณเพื่อนำส่งหักกองทุน ทั้งนี้ตามกฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างสะสมเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ตั้งแต่ 2 – 15% ของเงินเดือน และให้นายจ้างสมทบเป็นประจำทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินเดือนให้อีกในอัตราตั้งแต่ 2 – 15% เช่นกัน หรือตามแต่ข้อตกลงของบริษัท  เช่น นาย A ทำงานในบริษัทแห่งหนึ่ง ได้รับเงินเดือน 10,000 บาท โดยบริษัทได้ดำเนินการหักเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในส่วนของลูกจ้าง 6% หรือ 600 บาท บริษัทสมทบให้อีก 4% คือ 400 บาท ส่งผลให้นาย A ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อเดือนรวม 1,000 บาทนั่นเอง

 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การออมคือเรื่องหลัก ลดหย่อนภาษีคือผลพลอยได้ 2565

 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษี 2565

ซึ่งหากมองในแง่ของการออม การส่งเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น เป็นการออมอีกวิธีที่สามารถสร้างความมั่นคงและเป็นหลักประกันที่ลูกจ้างทุกคนจะได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เกษียณอายุ ทุพพลภาพหรือหากเสียชีวิตก็จะได้รับทันที และที่สำคัญคือเหล่ามนุษย์เงินเดือนนั้นยังสามารถนำ “เงินสะสม” นี้ไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ได้อีกด้วย ซึ่งมีหลายท่านที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษี 2565 ว่าแท้จริงแล้ววัตถุประสงค์หลักของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น คือ การออม โดยการลดหย่อนภาษีนั้นเป็นเรื่องรองลงไป

 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษี 2565

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษี 2565 Pantip ว่ายังไง

สำหรับลูกจ้างที่เข้าร่วมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หลายท่านจะทราบดีเรื่องเกี่ยวกับความสามารถในการนำกองทุนไปหักลดหย่อนภาษีได้ โดยสามารถหักกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษี 2565 ได้โดยคำนวณตามจริง แต่ไม่เกินปีละ 10,000 บาท โดยสำหรับส่วนที่เกิน 10,000 บาท (แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง และไม่เกิน 490,000 บาท) ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเงินได้ เพื่อเสียภาษี โดยมีสมาชิกพันทิปได้เข้ามาช่วยอธิบาย โดยมีการคำนวณตามวิธีการจ่ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษี 2565 ดังนี้

 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษี 2565

สรุปง่าย ๆ คือ คุณจะได้รับการลดหย่อนแน่ ๆ คือ 10,000 บาทเรียกตามจำนวนที่จ่าย และเงินที่เหลือก็สามารถหักลดหย่อนภาษีได้อีกเช่นกันตามจำนวนเงินที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษี 2565 แต่ต้องไม่เกิน 490,000 บาทเพราะถ้าเงินจำนวน ส่วนเกินจะถูกนำไปคิดคำนวณภาษี

แต่เมื่อดำเนินการลาออกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษี 2565 แล้ว ประเด็นคำถามที่ว่าเราจะยังสามารถใช้วิธีใดบ้างในการนำเงินก้อนนี้มาหักลดหย่อนภาษีได้อีก โดยวิธีการคิดคำนวณการหักลดหย่อนภาษีด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษี 2565 แต่ลาออกแล้วนั้น สามารถดำเนินการได้ดังนี้ คือท่านต้องเป็นลูกจ้างที่มีอายุงาน 5 ปีขึ้นไป และมีอายุไม่เกิน 55 ปี ซึ่งจะสามารถได้รับสิทธิการไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง หากแต่เป็นลูกจ้างในกรณีอื่น ๆ เช่น แม้ลาออกจากงานแต่ไม่ได้ออกจากกองทุน หรืออายุงานเกิน 5 ปี แต่อายุยังไม่ถึง 55 ปี ไม่ว่ากรณีใดก็ต้องนำรายได้ซึ่งได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนำมาคิดคำนวณทั้งหมด

ทั้งนี้หากท่านมีข้อสงสัยหรือมีประเด็นคำถามเกี่ยวกับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออก ภาษีต้องเสียหรือไม่ หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษี 2565 อย่างไรได้บ้าง สามารถดำเนินการได้อย่างไรบ้าง เรามีที่ปรึกษาด้านนี้โดยเฉพาะมานำเสนอ ที่นี่ กับ ที่ปรึกษากรุงศรี Plan Your Money

อ้างอิง 1 2

 

Tag

การค้นหาที่เกี่ยวข้อง

 

#กองทุนสํารองเลี้ยงชีพลดหย่อนภาษี2564

 
#กองทุนสำรองเลี้ยงชีพลดหย่อนภาษีpantip
 
#เงินสะสมกองทุนสํารองเลี้ยงชีพยื่นภาษี
 
#เงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพยื่นภาษีอย่างไร
 
#กองทุนสํารองเลี้ยงชีพกฎหมายใหม่2564
 
#วิธีกรอกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
 

#เงินสะสมกองทุนสํารองเลี้ยงชีพส่วนที่เกิน10000บาท