คำพูดว่าสิ่งหนึ่งในชีวิตที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ ความตายกับภาษีดูเหมือนว่าจะไม่ได้ไกลจากความจริงนัก หลังจากที่ยื่นภาษีไปแล้วไม่นาน ก็ถึงเวลาต้องกลับมานั่งวางแผนภาษีในปีถัดไปกันอีกแล้ว ซึ่งในวันนี้ Bkklovehoro.com ได้เตรียมรายการลดหย่อนภาษี 2565 (อัพเดต พ.ค.64) มาให้คุณได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนภาษีแล้ว มีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลย
ค่าลดหย่อนภาษี 2565 มีอะไรบ้าง
สำหรับรายการลดหย่อนภาษี 2565 นั้น นับจากข้อมูลวันที่ 25 พ.ค.64 ยังไม่มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก สามารถสรุปออกมาให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ดังนี้
1.ค่าลดหย่อนภาษี 2565 ด้านชีวิตและครอบครัว
1.1 ค่าลดหย่อนภาษี 2565 ส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท
สิทธิค่าลดหย่อนภาษี 2565 ส่วนตัว ทุกคนที่ยื่นแบบภาษีเงินได้จะได้รับทุกคนโดยอัตโนมัติ
1.2 ค่าลดหย่อนภาษี 2565 คู่สมรส จำนวน 60,000 บาท
ต้องเป็นคู่สมรสที่มีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น หากมีการยื่นแบบแสดงรายการรวมกันก็จะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษี จำนวน 60,000 บาท โดยอัตโนมัติ
1.3 ค่าลดหย่อนภาษี 2565 บุตร จำนวน 30,000 บาท
ผู้ปกครองที่มีบุตรสามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ โดยมีเงื่อนไขว่าบุตรจะต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี และต้องมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท
1.4 ค่าลดหย่อนภาษี 2565 ฝากครรภ์และคลอดบุตร สูงสุด 60,000 บาท
ภริยามีกำลังตั้งครรภ์บุตร สามารถนำใบเสร็จและใบรับรองแพทย์เป็นหลักฐานลดหย่อนภาษีตามจ่ายจริงได้สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท สามารถใช้ได้ทั้ง รพ.รัฐและเอกชน
1.5 ค่าลดหย่อนภาษี 2565 ค่าเลี้ยงดูบุพการีของตนเองและคู่สมรส ท่านละ 30,000 บาท
กรณีที่บุพการีของตนเองและคู่สมรสมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท สามารถนำค่าเลี้ยงดูมาลดหย่อนภาษี 2565 ได้ ท่านละ 30,000 บาท โดยใช้หนังสือรับรอง แบบ ลบ.03 เป็นหลักฐาน
1.6 ค่าลดหย่อนภาษี 2565 ผู้ทุพพลภาพ จำนวน 60,000 บาท
กรณีเป็นผู้ดูแลบุคคลทุพพลภาพหรือผู้พิการซึ่งมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท สามารถนำใบรับรองแพทย์มาเป็นรายการลดหย่อนภาษี 2565 ได้
2.ค่าลดหย่อนภาษี 2565 ด้านเศรษฐกิจ
2.1 ค่าลดหย่อนภาษี 2565 ดอกเบี้ยบ้าน สูงสุด 100,000 บาท
สำหรับใครที่กู้เงินซื้อบ้านในปี 2564 คุณสามารถนำหลักฐานการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมหรือดอกเบี้ยบ้านของธนาคารมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษี 2565 ได้ตามจำนวนดอกเบี้ยที่จ่ายจริง ไม่เกิน 100,000 บาท
2.2 ค่าลดหย่อนภาษี 2565 จากบัตรเดบิต ตามจ่ายจริง
เจ้าของธุรกิจที่มีการจ่ายค่าธรรมเนียมในการรับชำระด้วยบัตรเดบิตสามารถใช้สิทธิดังกล่าวเพื่อเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้
3.ค่าลดหย่อนภาษี 2565 ด้านประกัน
3.1 ค่าลดหย่อนภาษี 2565 เบี้ยประกันชีวิต ตามจ่ายจริง ไม่เกิน 100,000 บาท
ใครที่ทำประกันชีวิตไว้ สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตมาเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 1 แสนบาท
3.2 ค่าลดหย่อนภาษี 2565 เบี้ยประกันสุขภาพ ตามจ่ายจริง ไม่เกิน 25,000 บาท
ใครที่ทำประกันสุขภาพให้ตนเองสามารถนำเบี้ยประกันมาเป็นรายการลดหย่อนภาษี 2565 ได้ไม่เกิน 25,000 บาท ทั้งนี้ เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
3.3 ค่าลดหย่อนภาษี 2565 เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ ตามจ่ายจริง ไม่เกิน 15,000 บาท
ใครที่ซื้อประกันสุขภาพให้กับบุพการีสามารถใช้เบี้ยประกันเป็นค่าลดหย่อนได้ตามจ่ายจริง ไม่เกิน 15,000 บาท อย่างไรก็ตาม บุพการีต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 ต่อปี เท่านั้น
3.4 ค่าลดหย่อนภาษี 2565 เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ตามจ่ายจริง ไม่เกิน 200,000 บาท
สำหรับใครที่ซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญเพื่อออมเงินสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
4.ค่าลดหย่อนภาษี 2565 ด้านกองทุนรวม
4.1 ค่าลดหย่อนภาษี 2565 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ตามจ่ายจริง ไม่เกิน 500,000 บาท
แน่นอนที่สุดสำหรับการกองทุนรวมลดหย่อนภาษีที่ยังสามารถนำมาเป็นรายการลดหย่อนภาษี 2565 ได้ คือ กองทุนรวม RMF ซึ่งผู้ซื้อกองทุนรวม RMF สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท ทั้งนี้ เงื่อนไขเบื้องต้นยังเหมือนเดิมทุกประการ นั่นคือต้องซื้อติดต่อกันทุกปีต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี และอายุครบ 55 ปี จึงขายได้โดยไม่ต้องคืนค่าลดหย่อนภาษี
4.2 ค่าลดหย่อนภาษี 2565 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตามจ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
หากต้องการประหยัดภาษีมากขึ้น คุณสามารถเลือกที่จะออมเพิ่มได้ในแต่ละเดือน กรณีของ กบข. สามารถเลือกแผนการลงทุนที่เหมาะกับตนเองได้ อีกทั้งยังนำมาเป็นค่าลดหย่อนภาษี 2565 ได้อีกด้วย
4.3 ค่าลดหย่อนภาษี 2565 กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามจ่ายจริง ไม่เกิน 13,200 บาท
เหมาะสมสำหรับฟรีแลนซ์หรือคนทำงานอิสระที่ต้องการตัวเลือกลดหย่อนภาษี
4.4 ค่าลดหย่อนภาษี 2565 กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ตามจ่ายจริง ไม่เกิน 200,000 บาท
ใครที่ซื้อกองทุน SSF หรือ LTF เดิม สามารถนำมาเป็นรายการลดหย่อนภาษี 2565 ได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และต้องถือกองทุนดังกล่าวเป็นเวลา 10 ปี
หมายเหตุ : ค่าลดหย่อนภาษี 2565 จะต้องรวมกองทุน RMF, กองทุน SSF, กบข./กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, และประกันชีวิตแบบบำนาญ แล้วไม่เกิน 500,000 บาท เท่านั้น
5.ค่าลดหย่อนภาษี 2565 ด้านเงินบริจาค
5.1 ค่าลดหย่อนภาษี 2565 เงินบริจาคพรรคการเมือง ไม่เกิน 10,000 บาท
บริจาคให้พรรคการเมืองที่ใช่พรรคการเมืองที่ชอบ ตามจ่ายจริง ไม่เกิน 10,000 บาท
5.2 ค่าลดหย่อนภาษี 2565 เงินบริจาคทั่วไป ตามจ่ายจริงไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมิน
การบริจาควัด สถานพยาบาล สาธารณกุศลต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อนภาษี 2565 ได้ไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินที่หักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว
5.3 ค่าลดหย่อนภาษี 2565 เงินบริจาคที่ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า ตามจ่ายจริง ไม่เกิน 10% ของเงินได้
เงินบริจาคที่ได้รับการลดหย่อนภาษี 2 เท่า ส่วนใหญ่เป็นการบริจาคเงินเพื่อการศึกษา โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งระบุว่าการบริจาคเงินสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า ก็สามารถนำยอดดังกล่าวมาเป็นรายการลดหย่อนภาษี 2565 ได้ไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว
อย่างไรก็ตาม รายการลดหย่อนภาษี 2565 ที่เรานำมาเสนอให้ทุกคนในวันนี้เป็นข้อมูล ณ วันที่ 24 พ.ค.64 หากในอนาคตมีการเปลี่ยนแปลง เราจะรีบมาอัพเดตให้ทุกคนทราบในทันที
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง