หนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) 10 ปี ทำได้หรือยัง 2564

หลายท่านที่เคยเดินทางไปต่างประเทศนั้น คงจะทราบดีว่าสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุดอย่างหนึ่งพอ ๆ กับเงินที่ควรมีไว้อย่างเพียงพอในการใช้จ่ายและยารักษาโรคประจำตัวแล้วก็คือ “พาสปอร์ต” หรือ “หนังสือเดินทาง” นี้แหละ ที่เป็นเอกสารทางการที่มีความสำคัญ และมักจะเป็นเอกสารที่เราไม่ค่อยจะได้สังเกตวันสิ้นสุดอายุ เพราะเมื่อไม่ได้มีความจำเป็นในการเดินทางไปต่างประเทศแล้ว คนส่วนใหญ่ก็มักจะไม่ค่อยได้ให้ความสนใจ ตรวจสอบวันหมดอายุของพาสปอร์ต จนไม่สามารถทำใหม่ หรือเตรียมพร้อมเมื่อถึงคราวที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ

ในปัจจุบัน ถือว่าเป็นข่าวดีอย่างยิ่ง ที่มีการให้บริการพาสปอร์ต 10 ปี หรือหนังสือเดินทาง 10 ปี โดยจะสามารถช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่มีความจำเป็นในการใช้หนังสือเดินทาง โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินหลักพัน แล้วมีโอกาสใช้หนังสือเดินทางเพียง 1 – 2 ครั้งก็หมดอายุเสียก่อน และในครั้งนี้ เราพร้อมนำข้อมูลและรายละเอียดของ การเปิดให้บริการพาสปอร์ต 10 ปี โดยมีรายละเอียดและข้อมูลดังนี้

 

ลิงก์ผู้สนับสนุน

พาสปอร์ต 10 ปี ทำได้หรือยัง

กรมการกงสุล โดยอธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ให้ข้อมูลว่า การทำหนังสือเดินทาง 10 ปี หรือ พาสปอร์ต 10 ปีนั้น ประชาชนสามารถขอรับการให้บริการได้ โดยเพียงมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ก็สามารถเข้ารับการให้บริการทำพาสปอร์ต 10 ปีได้ทันที ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ที่กรมการกงสุลและสำนักงานหนังสือเดินทาง (ชั่วคราว) ทั้งในกรุงเทพมหานคร และในต่างจังหวัด รวมวไปถึงสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ และสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยทุกแห่ง โดยมีการคิดค่าธรรมเนียมการทำพาสปอร์ต 10 ปี ที่ 1,500 บาท โดยอ้างอิงตามประกาศเกี่ยวกับการเรียกเก็บและการทำหนังสือเดินทาง 10 ปี ในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 10 มีนาคม 2564

ค่าธรรมเนียม ทำพาสปอร์ต เอกสารการเดินทาง

ทั้งนี้การเก็บค่าธรรมเนียมการทำพาสปอร์ต มีการกำหนดอัตราที่มีความแตกต่างกัน โดยแบ่งเป็นพาสปอร์ตระยะเวลาฉบับอายุไม่เกิน 5 ปี และฉบับอายุไม่เกิน 10 ปี โดยมีอัตราค่าธรรมเนียมดังนี้

  • ค่าธรรมเนียม พาสปอร์ต สำหรับอายุไม่เกิน 5 ปี ฉบับละ 1,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียม พาสปอร์ต สำหรับ อายุไม่เกิน 10 ปี ฉบับละ 1,500 บาท
  • ค่าธรรมเนียม พาสปอร์ตสำหรับเดินทางไปพิธีฮัจญ์ อายุไม่เกิน 3 ปี ฉบับละ 500 บาท

ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหา การออกหนังสือเดินทาง ล่าช้า โดยที่ผ่านมา มีประชาชนมากมายที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำพาสปอร์ต กี่วันได้ ซึ่งมีหลายครั้งที่ทางการไม่สามารถดำเนินการออกหนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ตให้ทันความต้องการของผู้รับบริการ ดังนั้น จึงนำมาซึ่งการกำหนดวิธีการขอพาสปอร์ตเล่มด่วน หรือการขอหนังสือเดินทางเล่มด่วน สามารถรับเล่มในวันที่ยื่นคำร้อง ซึ่งมีการเก็บอัตราค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นจากการขอปกติ โดยมีอัตราค่าธรรมเนียมดังนี้

  • ค่าธรรมเนียม พาสปอร์ตเล่มด่วน สำหรับอายุไม่เกิน 5 ปี ฉบับละ 3,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียม พาสปอร์ตเล่มด่วน สำหรับ อายุไม่เกิน 10 ปี ฉบับละ 3,500 บาท

 

พาสปอร์ต มีกี่แบบ

ท่านคนอาจจะมีข้อสงสัยว่า เพราะเหตุใดหนังสือเดินทางที่เราใช้กันสำหรับเป็นเอกสารประจำตัวบุคคล เมื่อต้องเดินทางไปต่างประเทศนั้น จึงมีหลายสี หลายรูปแบบ โดยเรามีข้อมูลและคำตอบมาทุกท่านแล้ว ที่นี่

  • หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic) พาสปอร์ตรูปแบบนี้เป็นเอกสารสำหรับนักการทูตและข้าราชการการเมือง เพื่อใช้สำหรับการเดินทางไปต่างประเทศเท่านั้น โดยตัวเล่มจะมีสีแดงสด
  • หนังสือเดินทางราชการ (Official Passport) หนังสือเดินทางรูปแบบนี้เป็นพาสปอร์ตสำหรับข้อราชการ พนักงานของรัฐ สำหรับเดินทางปาชการ โดยหนังสือเดินทางนี้จะเป็นสีน้ำเงิน
  • หนังสือเดินทางยกเว้นค่าธรรมเนียม (Gratis) หนังสือเดินทางรูปแบบนี้เป็นพาสปอร์ตสำหรับข้อราชการที่เกษียณอายุ พนักงานของรัฐ ข้าราชการที่จะเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ หรือฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ โดยหนังสือเดินทางนี้จะเป็นสีน้ำตาล
  • หนังสือเดินทาง (Passport) เป็นหนังสือเดินทางสำหรับประชาชนทั่วไป หรือข้าราชการและพนักงานของรัฐ ที่เดินทางไปต่างประเทศแบบส่วนตัว เช่น เดินทางเพื่อท่องเที่ยว ตัวเล่มหนังสือเดินทางจะเป็นสีเลือดหมู
  • พาสปอร์ตสีเขียว (Green Passport) ส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือเดินทางที่ใช้ในประเทศที่นับถือศาสนาอสลาม และนอกจากนี้พาสปอร์ตสีเขียว ยังมีการใช้กันในกลุ่มประเทศสมาคมเศรษฐกิจแอฟริกาตะวันตก และประเทศเวียดนามอีกด้วย โดยในประเทศไทยของเรา พาสปอร์ตสีเขียวนั้น จะใช้สำหรับการออกหนังสือเดินทางชั่วคราว โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ หนังสือเดินทางของพระภิกษุ และหนังสือเดินทางไปพิธีฮัจญ์
  • พาสปอร์ตสีเหลือง ในกรณีของประเทศไทยมีการใช้หนังสือเดินทางเล่มสีเหลืองสำหรับคนต่างด้าว

ทำพาสปอร์ต ใช้เอกสารอะไรบ้าง 2564

สำหรับทุกท่านที่กำลังเตรียมความพร้อมในการทำหนังสือเดินทาง หรือพาสปอร์นนั้น การทำหนังสือเดินทางไม่ได้ยากและลำบากอย่างที่คิด เพราะเพียงคุณเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้ ก็สามารถเข้าดำเนินการทำหนังสือเดินทางได้ทันทีที่ กรมการกงสุลและสำนักงานหนังสือเดินทาง (ชั่วคราว) ทั้งในกรุงเทพมหานคร และในต่างจังหวัด รวมวไปถึงสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ และสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยทุกแห่ง โดยเอกสารดังกล่าวมี ดังนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ หรือบัตรข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับจริง และสำเนาทะเบียนบ้านสำหรับผู้ที่ใช้บัตรข้าราชการ
  • ในกรณีที่เคยมีการเปลี่ยนชื่อ หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่อาจจะไม่ตรงกับบัตรประชาชน ให้นำหลักฐานการแก้ไขที่เกี่ยวข้องมาแสดงด้วย

ดังนั้นหากคุณกำลังวางแผนเดินทางไปต่างประเทศ และยังไม่มีหนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ต คุณสามารถศึกษารายละเอียดและเข้าขอรับการให้บริการทำหนังสือเดินทางได้ทันที ที่สถานที่ทางราชการที่กล่าวไป

อ้างอิง 1