เข้าสู่ช่วงปลายปีใกล้เทศกาลวันหยุดพักผ่อนไม่ว่าจะเป็น วันสิ้นปี วันปีใหม่หรือแม้กระทั้งวันคริสต์มาส เชื่อเลยว่าหลาย ๆ ท่านคงเริ่มจะวางแผนการเดินทางท่องเที่ยวกันไปบ้างแล้ว ซึ่งนอกจากการท่องเที่ยวและพักผ่อนแล้ว การวางแผนเรื่องภาษีและค่าใช้จ่ายก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ต้องวางแผนเช่นเดียวกัน ดังนั้นในครั้งนี้เราจึงมาพร้อมกับบทความพิเศษ ซึ่งจะกล่างถึง “ภาษีที่ดิน 2565 จ่ายเท่าไหร่ คำนวณอย่างไร” มาให้ทุกท่านได้อุ่นเครื่องเตรียมการกันก่อน เราไปดูกัน
ภาษีที่ดิน 2566
ภาษีที่ดินนั้นเป็นเงินที่ทุกท่านซึ่งเป็นผู้ถือครองที่ดินและทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์จะต้องจ่ายให้กับรัฐ โดยจะรวมไปถึงที่ดินเกษตรกรรม ที่ดินว่างเปล่า บ้านที่พักอาศัย ซึ่งแต่ละแบบนั้นจะมีการคิดคำนวณและการเก็บภาษีที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งในประเด็นนี้สำหรับการเก็บภาษีที่ดิน 2566 นั้น สามารถกล่าวให้เข้าใจได้ง่าย ๆ คือ หากท่านใดเป็นเจ้าของทรัพย์สินเช่น บ้าน ที่ดิน บ้านเช่า ที่นา ที่ดินอื่น ๆ ทุกท่านจะต้องดำเนินการศึกษารายละเอียดและข้อมูลของภาษีที่ดิน เพื่อนำเงินมาข่ายให้กับภาครัฐ โดยรายละเอียดทั้งหมดและรวมไปถึงการคิดคำนวณนั้นจะมีกำหนดไว้แล้วตามข้อบทกฎหมาย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ภาษีที่ดิน ใครต้องจ่ายบ้าง
คำถามสุดคลาสสิกที่เชื่อเลยว่าทุกท่านแม้จะมีที่ดินเป็นของตัวเอง หรืออาจจะอยู่อาศัยบนที่ดินพื้นที่นั้น ๆ มาอย่างยาวนาน ก็อาจจะยังไม่ทราบว่า ใครบ้างที่จะต้องจ่ายภาษีที่ดิน ทั้งนี้จากข้อมูลและรายละเอียดที่กฎหมายกำหนดไว้นั้น พบว่า ผู้ที่จะต้องดำเนินการจ่ายภาษีที่ดิน 2566 นั้นจะประกอบไปด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
- เจ้าของที่ดิน/ เจ้าของสิ่งปลูกสร้าง/ เจ้าของห้องชุด ซึ่งกรณีนี้อาจจะไม่ใช่เจ้าของบ้านก็ได้ เพราะหากเป็นเจ้าบ้านที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ ไม่มีชื่อในโฉนดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น เจ้าบ้านก็ไม่ใช่ผู้ที่ต้องเสียภาษี
- ผู้ครอบครองทรัพย์สิน ทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของรัฐ เช่น ผู้เช่าที่ราชพัสดุอยู่ แม้ไม่ใช่เจ้าของที่ผืนนั้น ๆ แต่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ดิน 2566 นั้นตามกฎหมายทันที
- เป็นผู้ครอบครองหรือเป็นผู้ที่ใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นอยู่ในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษีนั้น เช่น
- ท่านอาจจะซื้อคอนโด ในวันที่ 20 ธันวาคม 2565 แต่จะต้องเสียภาษีที่ดิน 2566 เพราะถือว่าท่านได้ครอบครองที่ดิน ที่อยู่อาศัยนั้นภายในวันที่ 1 มกราคม 2566 แต่สำหรับท่านที่ซื้อบ้านในวันที่ 30 มกราคม 2566 จะยังไม่ต้องเสียภาษีที่ดิน 2566 เพราะยังไม่ได้ครอบครองทรัพย์สินนั้นภายในวันที่ 1 มกราคม 2566 แต่ท่านจะต้องไปเสียภาษีที่ดิน 2567 แทนซึ่งเป็นปีถัดไปตามข้อกฎหมาย
- กรณีที่เจ้าของที่ดินและเจ้าของสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้นเป็นคนละคนกัน ให้ต่างคนต่างเสียภาษีเฉพาะในส่วนของตนเอง ซึ่งตนเองเป็นเจ้าของเท่านั้น
ภาษีที่ดิน 2566 ต้องจ่ายเท่าไหร่ คำนวณอย่างไร
เมื่อทุกท่านได้ทราบข้อมูลและรายละเอียดเบื้องต้นกันไปแล้ว ว่าท่านใดบ้างที่จะต้องดำเนินการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2566 ตามข้อบทกฎหมายที่มีการกำหนดไว้ ในส่วนนี้จะเป็นการนำเสนอรายละเอียดและข้อมูลของวิธีการคิดคำนวณและอัตราค่าใช้จ่ายที่ท่านจะต้องเสียภาษี 2566 โดยมีรายละเอียดดังนี้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักคือ
1.ที่ดินเกษตรกรรม
ที่ดินเกษตรกรรมนั้นหมายถึง ที่ดินซึ่งมีการใช้ประโยชน์เพื่อทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และดำเนินกิจการอื่น ๆ ตามที่ประกาศกำหนดโดยจะมีการกำหนดเพดานภาษีที่ดิน 2566 ไว้สูงสุดที่ 0.15% ซึ่งในส่วนนี้หลายท่านมักจะมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร คือ ไม่ใช่ท่านจะสามารถปลูกอะไรก็ได้ โดยในส่วนนี้จะมีการกำหนดข้อมูลและรายละเอียดของการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไว้ ดังนี้
- ปลูกกล้วย ขั้นต่ำ 200 ต้น/ ไร่
- ปลูกกาแฟ พันธุ์โรบัสต้า ขั้นต่ำ 170 ต้น/ ไร่ หรือ พันธุ์อาราบิก้า 533 ต้น/ ไร่
- ปลูกขนุน ขั้นต่ำ 25 ต้น/ ไร่
- ปลูกมะม่วง/ มะพร้าว/ ทุเรียน/ ลิ้นจี่/ ลำไย ขั้นต่ำ 20 ต้น/ ไร่
- ปลูกมะนาว ขั้นต่ำ 50 ต้น/ ไร่
ซึ่งสำหรับท่านที่มีข้อสงสัย ก็สามารถเข้าดำเนินการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่ หลักเกณฑ์และรายละเอียดของการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม โดยอัตราภาษที่ดิน 2566 นั้นมีการกำหนดไว้ ซึ่งมีรายละเอียดคือ
- กรณีเจ้าของที่ดินเป็นบุคคลธรรมดา
- หากท่านมีที่ดินทำการเกษตรกรรม มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษี
- หากท่านมีที่ดินที่มีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษีบาทแรก/ เขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนเกิน 50 ล้านบาทแรก เสียภาษีตามอัตราปกติ
- กรณีเป็นนิติบุคคล เสียภาษีที่ดิน 2566 ตามอัตราปกติ คือ
- มูลค่าทรัพย์สิน 0 – 75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.01% ล้านละ 100 บาท
- มูลค่าทรัพย์สิน 75 – 100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% ล้านละ 300 บาท
- มูลค่าทรัพย์สิน 100 – 500 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% ล้านละ 500 บาท
- มูลค่าทรัพย์สิน 500 – 1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.07% ล้านละ 700 บาท
- มูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.10% ล้านละ 1,000 บาท
ทั้งนี้สำหรับภาษีที่ดิน 2566 รายการนี้จะมีการกำหนดเพดานภาษีไว้สูงสุดที่ 0.15%
2.ที่พักอาศัย
ภาษีที่ดิน 2566 สำหรับที่พักอาศัยนั้นมีการกำหนดเพดานสูงสุดไว้ที่ 0.30% ซึ่งคำว่า “ที่พักอาศัย” ตามข้อบทกฎหมายนั้นจะหมายถึง ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามรายละเอียดและข้อมูลดังต่อไปนี้
- ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของใช้อยู่อาศัยเอง หรือให้ญาติพี่น้องอยู่อาศัยหรือให้เช่าเพื่อเป็น “ที่อยู่อาศัย”
- ทั้งนี้ที่ดินซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยนั้นยังหมายรวมไปถึง ช่วงเวลาที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง หรือการปรับปรุงต่อเติมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้นเพื่อการใช้เป็นที่อยู่อาศัยอีกด้วย เช่น แม้ว่าบ้านจะอยู่ในระหว่างการก่อสร้างหรือคอนโดที่ยังสร้างไม่เสร็จหรือกำลังตกแต่ง ทั้งหมดนั้นก็ให้ถือว่าเป็นที่อยู่อาศัยแล้ว
- บ้านเช่า หอพัก อพาร์ตเมนต์ หรือคอนโดที่ปล่อยให้เช่าเป็นรายเดือน ยกเว้นห้องเช่าแบบรายวันจะไม่จัดให้อยู่ในประเภทนี้
- โฮมสเตย์ ซึ่งเป็นสถานที่พักชั่วคราวที่เจ้าของดัดแปลงเป็นห้องพักไม่เกิน 4 ห้อง มีผู้เข้าพักรวมกันได้ไม่เกิน 20 คน จัดบริการสิ่งอำนวยความสะดวกตามสมควร และเป็นการพักรวมกับข้าวของในชายคาเดียวกัน ซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อหารายได้เสริม
ทั้งหมดนั้นจะ ถูกจัดเป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องดำเนินการเสียภาษีที่ดิน 2566 ตามหมวดของที่อยู่อาศัย ซึ่งจะมีการคิดคำนวณและแบ่งออกเปน 3 ประเภท คือ
- บ้านหลังหลัก ประเภทที่ 1 ซึ่งเป็นบ้านที่เจ้าของทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และมีชื่อในทะเบียนบ้าน กรณีนี้จะได้รับการยกเว้นภาษีในส่วนที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท แต่ถ้าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นมีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท ส่วนเกินนั้นจะต้องเสียภาษีที่ดิน 2565 ตามปกติ
- บ้านหลังหลัก ประเภทที่ 2 จะต้องเป็นบ้านหลังหลักที่ท่านมีชื่อในทะเบียนบ้านในวันที่ 1 มกราคม 2565 แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน เช่น คอนโด หรือคนที่สร้างบ้านอยู่บนที่ดินเช่า กรณีนี้ท่านจะได้รับการยกเว้นภาษี 10 ล้านบาทแรก และส่วนที่เกินจะต้องเสียภาษีที่ดิน 2566 ตามอัตราปกติ
- บ้านหลังอื่น ๆ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นบ้านหลังที่ท่านเป็นข้าวของหรือไม่ หรืออาจจะไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน หากเป็นบ้านหลังอื่น ๆ ตั้งแต่หลังที่ 2 เป็นต้นไป ท่านขะต้องดำเนินการเสียภาษีที่ดิน 2566 โดยไม่ได้รับการยกเว้น ตามรายละเอียดดังนี้
- มูลค่าทรัพย์สิน ไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.02% ล้านละ 200 บาท
- มูลค่าทรัพย์สิน 50 – 75 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.03% ล้านละ 300 บาท
- มูลค่าทรัพย์สิน 75 – 100 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.05% ล้านละ 500 บาท
- มูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษีอยู่ที่ 0.10% ล้านละ 1,000 บาท
3.ที่ดินใช้ประโยชน์อื่น ๆ
นอกจากที่ดินที่ท่านนำไปใช้ในการเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัยแล้ว การเก็บภาษีที่ดินในส่วนนี้จะดำเนินการเก็บภาษีที่ดิน 2566 สำหรับที่ดินซึ่งท่านนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น เช่น การดำเนินการเชิงพาณิชย์ โรงแรม ร้านค้า ร้านกาแฟ ร้านสะดวกซื้อ โรงงาน หอพักรายวัน บ้านเข่ารายวัน โดยจ้ะองเสียภาษีที่ดิน 2566 ด้วยอัตราซึ่งมีเพดานสูงสุดที่ 1.20% ตามรายละเอียดดังนี้
- มูลค่าทรัพย์สิน ไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.30% ล้านละ 3,000 บาท
- มูลค่าทรัพย์สิน 50 – 200 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.40% ล้านละ 4,000 บาท
- มูลค่าทรัพย์สิน 200 – 1,000 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.50% ล้านละ 5,000 บาท
- มูลค่าทรัพย์สิน 1,000 – 5,000 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.60% ล้านละ 6,000 บาท
- มูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษีอยู่ที่ 0.70% ล้านละ 7,000 บาท
4.ที่รกร้างว่างเปล่า
กรณีสุดท้ายสำหรับท่านที่เป็นผู้ถือครองที่ดินรกร้างหรือที่ดินซึ่งไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ใด ๆ ท่านจะต้องดำเนินการเสียภาษีที่ดิน 2566 ในอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยสามารถขึ้นไปสูงสุดที่ 3% ซึ่งมีรายละเอียดและวิธีการคิดคำนวณตามรายละเอียดดังนี้
- มูลค่าทรัพย์สิน ไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.30% ล้านละ 3,000 บาท
- มูลค่าทรัพย์สิน 50 – 200 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.40% ล้านละ 4,000 บาท
- มูลค่าทรัพย์สิน 200 – 1,000 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.50% ล้านละ 5,000 บาท
- มูลค่าทรัพย์สิน 1,000 – 5,000 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.60% ล้านละ 6,000 บาท
- มูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษีอยู่ที่ 0.70% ล้านละ 7,000 บาท
อ้างอิง 1