หากคุณมีชีวิตเป็นคนทำงาน เหล่ามนุษย์เงินเดือนที่ต้องทำงานหาเงิน แล้วนำเงินเข้าสมทบ ในกองทุนเงินสมทบประกันสังคม คงมีคำถามในใจว่าเงินที่เรา ๆ ท่าน ๆ ได้นำส่งนั้น ไปอยู่ที่ไหน แล้วใครเป็นผู้ดูแลเงินสมทบประกันสังคมนั้น โดยเป้าหมายสำคัญก็คงหนีไม่พ้นเรื่องเงินชราภาพประกันสังคมที่เหล่ามนุษย์เงินเดือน ที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 นั้นต่างตั้งตารอ
โดยในครั้งนี้ เราได้รวบรวมและพร้อมนำเสนอข้อมูล รายละเอียดของการเข้าเช็คประกันสังคม ที่สามารถเข้าถึงฐานข้อมูล เงินสมทบประกันสังคม และสามารถคาดการณ์จำนวนเงินชราภาพประกันสังคมที่ทุกท่านน่าจะได้รับได้ในอนาคต ด้วยบทความ “ส่งเงินแล้วไปไหน เช็คเงินสมทบประกันสังคม ผ่านแอปง่าย ๆ 2565” ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
Advertisement
เช็คสิทธิและเงินสมทบประกันสังคม ที่ไหนได้บ้าง
ด้วยความเพียบพร้อมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลให้การให้บริการของสำนักงานประกันสังคมนั้น สามารถขยายขอบเขตการให้บริการที่ทั่วถึงและเข้าถึงประชาชนที่มีสถานะเป็นผู้ประกันตนมากยิ่งขึ้น ด้วยการนำเสนอระบบการตรวจสอบสิทธิต่าง ๆ และสามารถเข้าเช็คเงินสมทบประกันสังคม ด้วย “ระบบสมาชิก” เช็คประกันสังคมผ่าน 2 ช่องทางหลักด้วยหมายเลขบัตรประชาชนของผู้ประกันตน 13 หลัก ดังนี้
- ผ่านเว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม go.th โดยต้องดำเนินการสมัครสมาชิกก่อนเข้าใช้บริการ
- เข้าเช็คประกันสังคม เพื่อตรวจสอบสิทธิต่าง ๆ ได้ทันทีผ่านแอป SSO Connect โดยสามารถดาวน์โหลดแอปได้ ที่นี่ สำหรับ iOS และ Android
เช็คสิทธิประกันสังคม ผ่านแอป/ เว็บไซต์ สมัครสมาชิกอย่างไร
ทั้งนี้การเข้าตรวจสอบข้อมูลและเงินสมทบประกันสังคม สมาชิกที่เป็นผู้ประกันตนทุกมาตราสามารถเข้าสมัครการใช้งานได้ทันที เพียงกดปุ่ม สมัครสมาชิก ซึ่งมีขั้นตอนการสมัครดังนี้
- ติดตั้งแอป SSO Connect หรือเข้าใช้งานที่เว็บไซต์ ของสำนักประกันสังคม
- กด “สมัครสมาชิก”
- หลังจากนั้นระบบจะแสดง “นโยบายการคุ้มครองสิทธิ์ข้อมูลส่วนบุคคล”
- อ่านและกดยิมรับข้อตกลงในการให้บริการ หลังจากนั้นกดถัดไป
- ระบบการเช็คประกันสังคมจะแสดงหน้าในทุกท่านกรอกข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ – นามสกุล หมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก พร้อมตั้งรหัสผ่าน
- ระบบจะส่งรหัส OTP ซึ่งจะส่งไปที่โทรศัพท์มือถือของผู้ประกันตน
- หลังจากนั้นกรอกรหัสผ่าน และกดยืนยัน
- เพียงเท่านี้ ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการลงทะเบียน และสามารถเข้าใช้งานในระบบได้ทันที
การเข้าใช้งานและเช็คสิทธิประกันสังคม
เมื่อสมาชิกประกันสังคม สมัครและลงทะเบียนเข้าใช้งานในแอป/ เว็บไซต์เรียบร้อยแล้ว เมื่อดำเนินการ Log In เข้าในระบบ ที่หน้าแรกของระบบการเช็คประกันสังคมจะแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกันตนทั้งหมด เช่น ชื่อ – นามสกุล พร้อมทั้งโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนได้ลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้บริการ และที่สำคัญระบบสมาชิกจะดำเนินการแสดง ยอดเงินสมทบประกันสังคมของผู้ประกันตนอีกด้วย
โดยหน้าจอการแสดงผลข้อมูล ที่มีการแสดงเงินสมทบประกันสังคมนั้น จะมีการแบ่งยอดเงินที่แสดง เป็น 2 กรณี คือ เงินสมทบชราภาพซึ่งจะมีการคำนวณยอดเงินชราภาพประกันสังคมให้ผู้ประกันทราบทันที เช่น ระบบได้แสดงยอดเงินสมทบประกันสังคมเบี้ยชราภาพทั้งหมด ที่ 100,350 บาท และจำแสดงยอดการคำนวณสิทธิที่ผู้ประกันตนพึ่งได้รับเงินชราภาพประกันสังคม 900 บาทต่อเดือน สำหรับการส่งเงินสมทบประมาณ 10 ปี เป็นต้น
ทั้งนี้ นอกจากการแสดงข้อมูลโดยสรุปแล้ว ระบบสมาชิกเช็คประกันสังคมเงินชราภาพ เงินสมทบผู้ประกันตน การเบิกสิทธิประโยชน์ อื่น ๆ นั้น จะมีการแสดงเป็นแถบข้อมูล ซึ่งผู้ประกันตนสามารถกดเพื่อแสดงข้อมูลทั้งหมดได้อีกด้วย
เช็คสิทธิประกันสังคม ค่ารักษาทันตกรรม
นอกจากการเข้าใช้สิทธิและเช็คประกันสังคมเงินชราภาพแล้ว ผู้ประกันตนยังสามารถเข้าใช้งานระบบสมาชิกเพื่อ ตรวจสอบสิทธิการเบิกค่าทันตกรรมได้อีกด้วย ทั้งนี้ สามารถกดที่แถบการแสดงข้อมูล
ค่ารักษาทันตกรรม” ได้ทันที โดยในปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการจัดสรรเงินค่ารักษาทันตกรรมสำหรับผู้ประกันตนที่มีสิทธิ ที่ 900 บาทต่อคน
ทบทวนข้อมูล ผู้ประกันตนมาตรา 33/ 39/ 40 มีสิทธิอะไรบ้าง
ผู้ประกันตน มาตรา 33
คือผู้ประกันตน ที่มีสถานะเป็นพนักงงานเอกชนทั่วไป ที่ทำงานอยู่กับนายจ้างหรือสถานประกอบการ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป โดยกฎหมายประกันสังคม มนุษย์เงินเดือนมาตรา 33 นี่เป็นกลุ่มที่มีจำนวนผู้ประกันตนมากที่สุด โดยมีการจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม และกองทุนเงินชดเชย ซึ่งมีการหักเงินสะสม 5% ของฐานเงินเดือน (ในปัจจุบันคือ 15,000 บาท) ซึ่งสมทบสูงสุดที่ 750 บาท และสามารถเช็คประกันสังคมมีสิทธิครบทั้ง 7 ประการ คือ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน
ผู้ประกันตน มาตรา 39
เช็คประกันสังคมสำหรับผู้ประกันตนซึ่งเคยเป็นพนักงานเอกชนแล้วลาออก โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือน แล้วจะต้องลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลาออกจากงาน โดยหากจะกล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้น คือ ผู้ประกันตน มาตรา 39 ของประกันสังคม มนุษย์เงินเดือนจะต้องเคยทำงานแล้วลาออก แต่มีความประสงค์ที่จะส่งเงินสมทบต่อเนื่อง เพื่อขอรับสิทธิประกันสังคมต่อ โดยจะได้รับการคุ้มครอง 6 กรณี คือ เจ็บป่วย ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ โดยการจ่ายเงินสมทบ จะดำเนินการคำนวณที่ฐานเงินเดือน เดือนละ 4,800 บาท และคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% ดังนั้นผู้ประกันตน มาตรา 39 จะต้องจ่ายเงินสมทบที่ 432 บาท
ผู้ประกันตน มาตรา 40
เช็คประกันสังคมตามมาตรา 40 คือช่องทางสร้างหลักประกันในชีวิตให้กับประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระ ทุกอาชีพที่ไม่มีนายจ้าง ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้า แม่ค้าตลาดนัด หรือฟรีแลนซ์ โดยสามารถได้รับสิทธิประกันสังคม สำหรับการเป็นผู้ประกันตน 3 – 5 กรณี ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการจ่ายเงินสมทบ โดยสามารถเลือกได้ตามรายละเอียด ดังนี้
- ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือนสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย
- ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือนสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ
- ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือนสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร
ดังนั้น หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สำนักงานประกันสังคม พร้อมให้บริการสมาชิกผู้ประกันตนทุกท่าน โดยสามารถติดต่อได้ทันทีที่ สำนักงานประกันสังคมทุกแห่ง หรือรถ Mobile ที่พร้อมให้บริการนอกสถานที่ หรือ โทร 1506 ยิ่งไปกว่านั้นทุกท่านยังสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม ผ่าน Live Chat ที่นี่
อ้างอิง 1