เงินบริจาค ลดหย่อนภาษี 2 เท่า 2566

ประเด็นน่าสนใจด้านการเงินช่วงปลายปี คงจะไม่มีอะไรสำคัญและมีคนให้ความสนใจมากเท่ากับประเด็นเกี่ยวกับการหาวิธีลดหย่อนภาษีเงินได้ ซึ่งในครั้งนี้ด้วยรายละเอียดและข้อมูลที่เรามีอยูในมือนั้น สามารถนำเสนอช่องทางในการช่วยให้ทุกท่านสามารถลดหย่อนภาษีเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะได้รับทั้งบุญและได้รับทั้งสิทธิการลดหย่อนภาษี กับวิธีการให้เงินบริจาค ลดหย่อนภาษี โดยด้วยบทความของเราทุกท่านจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการให้เงินบริจาคลดหย่อนภาษี 2 เท่า และการบริการทั่วไป ซึ่งทุกวิธีการมีความน่าใจและอาจจะมีประโยชน์มากกว่าการเสียภาษีโดยตรงเสียอีก เราไปดูกัน

 

เงินบริจาค ลดหย่อนภาษี 2 เท่า
เงินบริจาค ลดหย่อนภาษี 2 เท่า

ลดหย่อนภาษี 2565

ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ทุกท่าน จะต้องพิจารณาและใช้ความละเอียดรอบคอบในการยื่นแบบรายการแสดงภาษีเงินได้ โดยประเด็นสำคัญที่จะลืมมิได้เลยก็คือ การหาวิธีลดหย่อนภาษี ซึ่งการให้เงินบริจาค ลดหย่อนภาษีนั้นเป็นอีกช่องทางสำคัญสำหรับผู้มีเงินได้สามารถดำเนินการได้ แม้ท่านจะไม่ได้เป็นคนรวยหรือเป็นคนที่มีรายได้เป็นหลักล้านก็ตาม  โดยนอกจาการลดหย่อนภาษีส่วนตัวทั่วไปแล้ว อาทิ

  • ลดหย่อนภาษีส่วนตัว 60,000 บาท
  • ลดหย่อนคู่สมรสไม่มีรายได้ 60,000 บาท
  • ลดหย่อนบุตร ที่อายุไม่ถึง 20 ปีหรือ 25 ปีในกรณีที่ยังศึกษาอยู่ คนละ 30,000 บาท และหากเกิดตั้งแต่ปี 2561 ได้คนละ 60,000 บาท
  • ลดหย่อนภาษีบิกามารดา ที่อายุ 60 ปีขึ้นไปได้คนละ 30,000 บาท
  • ลดหย่อนภาษีผู้พิการ ที่อยู่ในการดูแล คนละ 60,000 บาท
  • ค่าฝากครรภ์และทำคลอด ไม่เกิน 60,000 บาท
  • และการลดหย่อนภาษีในเงื่อนอื่น ๆ อาทิ เบี้ยประกัน/ กองทุนและการลดหย่อนตามมาตรการของรัฐบาล เป็นต้น

นอกจากรายการลดหย่อนทั้งหมดนี้ ท่านยังสามารถเลือกวิธีการลดหย่อนภาษีได้เพิ่มเติมจากวิธีการให้เงินบริจาค ลดหย่อนภาษี 2565 ได้อีกด้วย ซึ่งในทั้งนี้เราจะมาเจาะลึกกันในประเด็นการให้เงินบริจาค ลดหย่อนภาษีนี้ ซึ่งมีรายละเอียดและข้อมูลดังนี้

 

เงินบริจาค ลดหย่อนภาษี

การเลือกวิธีรลดหย่อนภาษีเงินได้ด้วยการบริจาคนั้น นอกจากท่านจะเป็นคนใจบุญแล้วท่านยังสามารถได้รับสิทธิการลดหย่อนภาษี ซึ่งสามารถขึ้นไปถึงจำนวนสูงสุดได้ 2 เท่าของยอดบริจาคอีกด้วย ทั้งนี้การลดหย่อนภาษี ด้วยการให้เงินบริจาคนั้น แต่ละช่องทางจะมีการกำหนดเงื่อนไขเบื้องต้นไว้พอสมควร โดยเราได้ยิบยกมานำเสนอไว้ที่นี่แล้ว ไปดูกันเลยว่ามีเงื่อนไขสำหรับการให้เงินบริจาค ลดหย่อนภาษีอะไรบ้าง

เงินบริจาคทั่วไปลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 10%

สำหรับหลายท่านที่ยังไม่แน่ใจและไม่ทราบว่าจะดำเนินการให้เงินบริจาค ลดหย่อนภาษีกับที่ใด หรือให้กับคณะบุคคลใด การให้เงินบริจาคทั่วไป ตามที่จ่ายจริงสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว โดยปกตินั้น การให้เงินบริจาค ลดหย่อนภาษีหลายท่านมักจะดำเนินการให้เงินบริจาคกับ วัด สภากาชาดไทย สถานพยาบาล สถานศึกษาหรือองค์กรของรัฐบาล หรือมูลนิธิต่าง ๆ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันที แต่ต้องแน่ใจก่อนว่าหน่วยงานทั้งหมดนั้นตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งการบริจาคเงินให้วัดที่ก่อตั้งขึ้นในต่างประเทศนั้นไม่สามารถนับเงินบริจาค ลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ทุกท่านสามารถเข้าตรวจสอบรายละเอียดของมูลนิธิ สถานสาธารณกุศล ที่สามารถหักลดหย่อนเงินบริจาคได้ ที่นี่ กรมสรรพากร

เงินบริจาคลดหย่อนภาษี 2 เท่า

ถือเป็นเทคนิคขั้นเทพและวิธ๊การพิเศษสำหรับผู้มีเงินได้ที่ต้องแสวงหาวิธีการลดหย่อนภาษี โดยวิธีให้เงินบริจาคลดหย่อนภาษี 2 เท่านั้น ทุกท่านสามารถดำเนินการได้ทันทีตามสิทธิแต่จะสามารถให้เงินบริจาค ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ ทั้งนี้รายการที่ท่านสามารถดำเนินการลดหย่อนภาษีจากการบริจาคนั้น มีรายละเอียดดังนี้

 

เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา

โดยการให้เงินบริจาค ลดหย่อนภาษีในรายการนี้ทุกท่านต้องดำเนินการบริจาคเงินแก่สถานศึกษาของรัฐ โรงเรียนเอกชน สถาบันอุดมศึกษาเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศในพื้นที่ EEC หรือโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก สำหรับค่าใช้จ่ายในรายการต่อไปนี้

  • จัดหาหรือจัดสร้างอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือที่ดินให้แก่สถานศึกษาเพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษา
  • จัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อการศึกษา แบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
  • จัดหาครูอาจารย์หรือเป็นทุนการศึกษา การประดิษฐ์ การพัฒนา การค้นคว้า หรือการวิจัยสำหรับนักเรียน นิสิตหรือนักศึกษาของสถานศึกษา

ทั้งนี้สำหรับทุกท่านที่ต้องการให้เงินบริจาคลดหย่อนภาษี 2 เท่าสำหรับสนับสนุนการศึกษานั้น สามารถเข้าตรวจสอบรายชื่อสถานศึกษาที่สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ ที่นี่

เงินบริจาคสนับสนุนโรงพยาบาลรัฐ

สำหรับทุกท่านที่ต้องการให้เงินบริจาค ลดหย่อนภาษีด้วยการจ่ายเงินบริจาคให้โรงพยาบาลนั้น ทุกท่านต้องให้เงินบริจาค ลดหย่อนภาษีแก่สถานพยาบาลที่มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้เท่านั้น ถึงจะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้

  • สถานพยาบาลของสถานศึกษาของรัฐ
  • สถานพยาบาลขององค์การมหาชน
  • สถานพยาบาลของรัฐวิสาหกิจ
  • สถานพยาบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • สถานพยาบาลของสภากาชาดไทย
  • สถานพยาบาลของหน่วยงานอื่นของรัฐ

ทั้งนี้สำหรับทุกท่านที่ต้องการให้เงินบริจาคลดหย่อนภาษี 2 เท่าสำหรับสนับสนุนสถานพยาบาลนั้น สามารถเข้าตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาลที่สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ ที่นี่

 

เงินบริจาค ลดหย่อนภาษี 2 เท่า

เงินบริจาคพิเศษอื่น ๆ

หากจากที่ทุกท่านจะสามารถดำเนินการลดหย่อนภาษี 2 เท่ากับการให้เงินบริจาค ลดหย่อนภาษีให้แก่ สถานศึกษาและสถานพยาบาลลแล้วนั้น การให้เงินบริจาคพิเศษอื่น ๆ นั้นก็สามารถช่วยให้ทุกท่านลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าเช่นกัน โดยมีรายการการให้เงินบริจาค ลดหย่อนภาษี 2 เท่าดังต่อไปนี้

  • เงินบริจาค ลดหย่อนภาษีได้สำหรับการสนับสนุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กองทุนสนับสนุน การวิจัยตามกฎหมาย กองทุนเพื่อการพัฒนาระบบมาตรวิทยาและกองทุนเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุข
  • เงินบริจาค ลดหย่อนภาษีสนับสนุนการกีฬาให้สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย โดยสามารถเข้าตรวจสอบรายชื่อหน่วยงานด้านกีฬา ที่นี่
  • เงินบริจาค ลดหย่อนภาษีสำหรับกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาจัดตั้งขึ้น
  • เงินบริจาค ลดหย่อนภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดการให้ผู้พิการได้รับสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ด้วยกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
  • เงินบริจาค ลดหย่อนภาษีได้สำหรับการให้โครงการฝึกอบรมอาชีพและการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบำบัด แก้ไขฟื้นฟูและสงเคราะห์เด็กและเยาวชนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนหรือศูนย์ฝึกอบรมในกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม

ทั้งนี้ประเด็นสำคัญ ทุกท่านที่สนใจบริจาคเพื่อนำเงินไปลดหย่อนภาษี จะต้องดำเนินการบริจาค ลดหย่อนภาษี 2 เท่าผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e – Donation) เท่านั้น

วิธีการให้เงินบริจาค ลดหย่อนภาษีผ่าน e – Donation

ระบบ e – Donation เป็นช่องทางพิเศษที่เปิดโอกาสให้ทุกท่านสามารถดำเนินการให้เงินบริจาค ลดหย่อนภาษีผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสำหรับท่านที่ต้องการได้รับสิทธิการลดหย่อนภาษี 2 เท่านั้น ทุกท่านต้องดำเนินการผ่านระบบ e – Donation นี้เท่านั้น ซึ่งสามารถดำเนินการได้ดังนี้ โดยมี 2 วิธี

  • สำหรับท่านที่ต้องการให้เงินบริจาคด้วยเงินสดที่หน่วยงานรับบริจาค ให้ท่านแจ้งหน่วยรับบริจาคนั้น ดำเนินการทำบันทึกข้อมูลการบริจาคบน ระบบ e – Donation ได้ทันที เพื่อดำเนินการส่งข้อมูลการบริจาคนั้นให้กรมสรรพากรต่อไป
  • วิธ๊การที่ 2 คือ สำหรับท่านที่ต้องการดำเนินการให้เงินบริจาค ลดหย่อนภาษีผ่านช่องทางการโอนเงินด้วย QR Code ผ่านธนาคารพาณิชย์ ซึ่งให้ท่านสังเกตที่แผ่นป้าย QR Code นั้นว่ามีคำว่า e – Donation และชื่อบัญชีเงินฝากชองหน่วยรับบริจาคนั้นหรือไม่ หากมีระบบจะแจ้งข้อความให้ธนาคารดำเนินการส่งข้อมูลไปยังกรมสรรพากรเพื่อบันทึกข้อมูลการบริจาคต่อไป ซึ่ง ณ เวลานี้มีธนาคารที่เข้าร่วมโครงการนี้แล้ว อาทิ ธนาคารกรุงเทพ/ ธนาคารกรุงไทย/ ธนาคารกสิกรไทย/ ธนาคารทหารไทยธนชาต/ ธนาคารไทยพาณิชย์/ ธนาคารออมสิน เป็นต้น