![หนี้ของผู้ค้ำประกันเกิดขึ้นเมื่อใด?](https://bkklovehoro.com/wp-content/uploads/2023/02/หนี้ของผู้ค้ำประกันเกิดขึ้นเมื่อใด-scaled.jpg)
หนี้ของผู้ค้ำประกันเกิดขึ้นเมื่อใด?
ข้อบทกฎหมายรายวัน กฎหมายน่ารู้ในวันนี้ เรามาพร้อมกับประเด็นร้อนที่พบเจอได้บ่อยครั้งในกระทู้ต่าง ๆ ซึ่งเชื่อเลยว่าเมื่อได้ยิน หลาย ๆ ท่านคงอาจจะรู้สึกหวาน ๆ ร้อน ๆ ขึ้นมาแน่นอน หรือบางท่านอาจจะเคยประสบพบเจอมาบ้างไม่มากก็น้อยสำหรับกรณีการเป็นคน “ค้ำประกัน” ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจในครั้งนี้จะมุ่งไปที่การเกิดภาระหนี้สำหรับผู้ค้ำประกัน โดยจะเกิดขึ้นเมื่อใด แก้ไขได้ยังไงบ้าง วันนี้เราจะมาดูกัน
ผู้ค้ำประกัน คือใคร
จริงอยู่ว่าใคร ๆ ก็สามารถเป็นผู้ค้ำประกันได้ แต่ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจค้ำประกันเงินกู้หรือการทำนิติกรรมใด ๆ ก็ตาม ท่านควรจะทราบและต้องทำความเข้าใจการเป็นผู้ค้ำประกันเสียก่อน โดยจากข้อบทกฎหมาย การค้ำประกันนั้น คือ การประกันการชำระหนี้ ซึ่งเป็นการดำเนินการโดยบุคคลอื่นนอกเหนือจากเจ้าหนี้และลูกหนี้ ซึ่งจะต้องยอมตกลงกับเจ้าหนี้ว่าหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามสัญญา ท่านเอง ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน จะยอมชำระหนี้ให้เจ้าหนี้แทน ซึ่งจะเป็นการเอาน่าเชื่อถือหรือฐานะทางการเงินของตนเองเข้าประกันการชำระหนี้ โดยตามภาษากฎหมายนั้นมีการอธิบายคำว่า ผู้ค้ำประกัน คือ บุคคลหนึ่งที่ยอมรับที่จะชำระหนี้แทนอีกบุคคล หากบุคคลนั้นไม่ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้
ขอบเขตของการค้ำประกัน
ทั้งนี้เมื่อเราทราบรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ค้ำประกันไปบ้างแล้ว ในส่วนนี้จะเป็นการนำเสนอขอบเขตหรือความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกัน ซึ่งจากข้อกฎหมายนั้นมีการให้คำอธิบายไว้ ดังนี้
- ผู้ค้ำประกันสามารถดำเนินการกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ และจำนวนเงินการค้ำประกันในสัญญาได้โดยไม่มีการคิดดอกเบี้ย
- เมื่อลูกหนี้มีการผิดนักชำระ หรือไม่ยอดชำระหนี้ สถาบันการเงินจะต้องมีหนังสือแจ้งผู้ค้ำประกัน ก่อนอย่างน้อย 60 วัน สำหรับการทวงหนี้กับผู้ค้ำประกัน
- หากลูกหนี้มีการประนอมหนี้ ยืดระยะเวลา หรือปรับโครงสร้างหนี้ ผู้ค้ำประกัน ถือว่าพ้นสภาพการเป็นผู้ค้ำประกันโดยสิ้นเชิง
หนี้ของผู้ค้ำประกันเกิดขึ้นเมื่อใด?
สำหรับประเด็นนี้ ถือเป็นข้อสงสัยที่พบกันมากในกระทู้เกี่ยวกับข้อกฎหมาย ซึ่งจากข้อกฎหมายพบว่า หนี้ของผู้ค้ำประกันนั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ผู้ค้ำประกันได้รับหนังสือบอกกล่าวจากเจ้าหนี้ ซึ่งทางเจ้าหนี้นั้นจะต้องดำเนินการบอกกล่าวเป็นหนังสือรายลักษณ์อักษรกภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระ ดังนั้น หนี้ของผู้ค้ำประกันจะเกิดขึ้นกล่าวโดยสรุปก็คือ ประมาณ 60 วันหลังจากที่ลูกหนี้มีการผิดนัดชำระ ซึ่งผู้ค้ำประกันจะต้องได้รับเป็นหนังสือแจ้งก่อนเท่านั้น ซึ่งในทางปฏิบัติเจ้าหนี้ก็มักที่จะยังไม่ทำหนังสือแจ้งผู้ค้ำประกัน โดยส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีการติดตามและทวงถามหนี้กับลูกหนี้ก่อนนั่นเอง ดังนั้น จึงให้สังเกตที่หนังสือ เอกสารที่ส่งมาจากเจ้าหนี้เป็นสำคัญ
ประเด็นน่าสนใจ
ส่วนใหญ่แล้วเมื่อเกิดปัญหา ผู้ค้ำประกันนั้นมักจะตกเป็นผู้เสียเปรียบเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการแบกภาระหนี้ที่ตนเองไม่ได้ก่อขึ้น หรือต้องมารับผิดชอบหนี้ในส่วนที่ตนเองไม่ได้ทำ ดังนั้น กฎหมายจึงได้มีการกำหนดเพิ่มเติมและมีความพยายามแก้ไขกฎหมายอีกหลายฉบับเพื่อให้สิทธิแก่ผู้ค้ำประกันให้ได้รับความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น เช่น ผู้ค้ำประกันมีสิทธิให้เจ้าหนี้ดำเนินการขอให้เจ้าหนี้ติดตามเรียกลูกหนี้มาชำระหนี้ก่อนตนได้ ซึ่งจะมีข้อยกเว้นเพียงกรณีที่ ศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้นั้นตกเป็นคนล้มละลายหรือไม่ปรากฏว่าลูกหนี้อยู่ที่ใดเท่านั้น ดังนั้นหากผู้ค้ำประกันสามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าลูกหนี้ยังอยู่ และสามารถชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้จะต้องเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้ก่อนเท่านั้น จากข้อมูล มาตรา 688 และมาตรา 689 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สรุป
ดังนั้น โดยสรุปแล้ว หนี้ของผู้ค้ำประกันจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ค้ำประกันได้รับหนังสือแจ้งการผิดนัดชำระของลูกหนี้ ซึ่งหลังจากนั้นประมาณ 60 วัน ผู้ค้ำประกันจึงจะต้องเป็นผู้ชำระหนี้นั้น แต่อย่างไรก็ตามระหว่างนั้น ผู้ค้ำประกันเองก็มีสิทธิร้องขอให้เจ้าหนี้ดำเนินการทวงถามหนี้ไปที่ลูกหนี้ให้ชำระหนี้ได้เช่นกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาสิทธิและป้องกันการเสียเปรียบของผู้ค้ำประกัน และสถานภาพของผู้ค้ำประกันจะหมดลงทันทีหาก ลูกหนี้มีการปรับโครงสร้างหนี้ มีการประนอมหนี้หรือการได้รับการปรับเปลี่ยนสัญญาหนี้จากเจ้าหนี้และลูกหนี้ ซึ่งในทางกฎหมายนั้นให้ถือว่า ผู้ค้ำประกัน พ้นสภาพไปนั่นเอง
อ้างอิง 1