
เมื่อสังคมเปิดกว้างในหลาย ๆ เรื่อง โอกาสและความหวังย่อมเกิดขึ้นเสมอ และหนึ่งในประเด็นที่มีการพูดถึงมากที่สุดอย่างการส่งเสริมและเปิดโอกาสให้กับกลุ่มคู่รัก LGBTQ+ ก็เป็นอีกหนึ่งความหวังที่จะช่วยให้คู่รักที่กำลังมองหาข้อมูลและกำลังสร้างครอบครัวสามารถที่จะมีโอกาสมี “บ้าน” ร่วมกันได้ ดังนั้นในครั้งนี้เราก็ขอเป็นหนึ่งแรกสนับสนุนสังคมที่หลากหลายและเท่าเทียม ด้วยการนำเสนอบทความ “สินเชื่อ LGBTQ+ 2566 ซื้อบ้านร่วมกันยังไงดี” โดยเรามีคำตอบและมีแนวทางดี ๆ ให้คู่รักทุกคู่ให้ทำความฝันให้เป็นจริงได้ มาดูกันเลย
โอกาสของคู่รัก LGBTQ+
ณ เวลานี้ถือเป็นโอกาสดีสุด ๆ สำหรับกลุ่มคู่รัก LGBTQ+ ที่มีความฝันอยากมีบ้านร่วมกัน โดยความฝันที่ว่านั้นไม่ได้อยู่ไกลเกินเอื้อทอีกต่อไป เพราะด้วยนโยบายที่เน้นความเสมอภาคอย่างเท่าเทียมและส่งเสริมความหลากหลายในสังคมตาม พรบ.คู่ชีวิต ที่มีการผ่านร่างกันไป จึงทำให้ในปัจจุบันธนาคารและสถาบันการเงินหลาย ๆ แห่งต่างตอบรับและเริ่มเดินนโยบายออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยสำหรับกลุ่มคู่รัก LGBTQ+ โดยเฉพาะ ซึ่งจะเป็นการนำเสนอแนวทางการเข้าถึงแหล่งเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยในลักษณะของการ “กู้ร่วม” ซึ่งย่อมเปิดโอกาสทั้งในด้านของ วงเงินสินเชื่อ การรับข้อเสนอจากโครงการบ้านและที่อยู่อาศัย ซึ่งในท้ายที่สุดความฝันที่คู่รัก LGBTQ+ จะมีบ้านร่วมกันก็สามารถเป็นความจริงได้ โดยไม่มีอุปสรรคและเป็นเรื่องที่จะมีกฎหมายรับรอง
LGBTQ+ กู้ร่วมได้ไหม ทำยังไง
ในอดีตนั้น การขอยื่นเรื่องเพื่อกู้ร่วมสำหรับรายการสินเชื่อเพื่อที่อยูอาศัยสำหรับกลุ่มคู่รัก LGBTQ+ นั้นมักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับเอกสารยืนยันความสัมพันธ์ ซึ่งจะยังไม่มีเอกสารใด ๆ รองรับความสัมพันธ์ของคู่รัก LGBTQ+ แต่ในเมื่อสังคมเปลี่ยน เงื่อนไขและข้อบทกฎหมายบางรายการก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนตาม ส่งผลให้ในปัจจุบันกลุ่มคู่รัก LGBTQ+ สามารถกู้ร่วมได้ โดยในส่วนของรายการสินเชื่อที่เปิดโอกาสให้กลุ่มคู่รัก LGBTQ+ นั้น สามารถขอยื่นกู้ร่วมได้ ณ เวลานี้จะมีการกำหนดรายการเอกสารและเงื่อนไขการสมัครได้คร่าว ๆ คือ
ซึ่งทุกท่านคงพอจะเห็นแล้วว่า แม้ว่าสังคมจะเปิดกว้างและยอมรับการเป็นคู่รัก LGBTQ+ แต่ในด้านกฎหมายแม้ว่าประเทศไทยของเรายังไม่เปิดโอกาสให้มีการจดทะเบียนสมรสสำหรับคู่รักเพศเดียวกัน แต่ทุกท่านที่มีความฝันอยากมีบ้านร่วมกัน ก็สามารถใช้เอกสารอื่น ๆ ทดแทนได้ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ที่จะส่งผลให้ธนาคารและสถาบันการเงินพิจารณาและอนุมัติวงเงินสินเชื่อบ้านให้กับคู่รัก LGBTQ+ ซึ่งจะต้องเป็นคู่ที่อยู่กินร่วมกันจริง ๆ และเป็นการป้องกันการสวมบทบาทคู่รักปลอมเพื่อหลอกขอสินเชื่อซึ่งจะเป็นรายการสินเชื่อที่มีวงเงินค่อนข้างสูง
การกู้ร่วมคืออะไร ทำไมต้องกู้ร่วม
สำหรับการขอสินเชื่อบ้านนั้น การกู้ร่วม คือ การเซ็นสัญญายื่นกู้เงินเพื่อซื้อทรัพย์สินชิ้นเดียวกัน โดยผู้ที่กู้ร่วมนั้นจะต้องเป็นบุคคลซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน เช่น คู่สมรส พ่อ/แม่พี่น้อง หรือญาติเท่านั้น โดยทางธนาคารจะเป็นฝ่ายกำหนดจำนวนผู้กู้ร่วมพร้อมทั้งพิจารณาอนุมัติให้ท่านสามารถมีผู้กู้ร่วมกี่คนก็ได้ เช่น สามารถกู้ร่วมได้ไม่เกิน 3 คน เป็นต้น ทั้งนี้สำหรับการที่ธนาคารจะเลือกอนุมัติสินเชื่อนั้น ก็จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาในรายละเอียดอื่น ๆ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ รายได้ของแต่ละคนว่ามีกำลังในการผ่อนต่อเดือนแค่ไหน บวกกับวงเงินที่เราขอกู้ไป และสำหรับสินเชื่อกลุ่มคู่รัก LGBTQ+ นั้น ทางธนาคารจึงต้องพิจารณาดูเอกสารและหลักฐานอื่น ๆ ที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่แท้จริงของคู่รัก ซึ่งจะเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดที่จะส่งผลให้ได้รับการอนุมัติสินเชื่อ
โดยถือเป็นเรื่องปกติ สำหรับการซื้อบ้าน 1 หลังที่จะต้องมีการขอกู้ร่วม เพราะบ้านหรือที่อยู่อาศัยต่าง ๆ นั้น เป็นทรัพย์สินที่มีราคาค่อนข้างสูง และนอกจากการมีหน้าที่การงานที่มั่นคง ผู้กู้จำเป็นต้องมีรายได้ที่เพียงพอต่อการชำระหนี้ด้วย ดังนั้นการกู้เพียงคนเดียว ทางสถาบันการเงินอาจอนุมัติวงเงินสินเชื่อให้ไม่ถึงราคาบ้านที่ซื้อ โดยส่วนใหญ่จะค่อนข้างน้อย ซึ่งจะส่งผลให้กู้ไม่สามารถซื้อบ้านได้ ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงมักเลือกพิจารณาที่จะกู้ร่วม โดยนำเงินรายได้ของผู้กู้ร่วมมารวมกัน เพื่อให้เพียงพอตามเงื่อนไขในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินนั่นเอง
คู่รัก LGBTQ+ จะกู้ร่วมต้องเตรียมอะไรบ้าง
นอกจากการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับรายได้และหลักทรัพย์ค้ำประกันแล้ว รายการเอกสารต่าง ๆ ที่จะต้องนำมาใช้สำหรับการยืนยันความสัมพันธ์ของคู่รัก จะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการพิจารณาสินเชื่อ ซึ่งจากข้อมูลในข้างต้นที่เราได้นำเสนอไปบ้างแล้วเกี่ยวกับเอกสารและหลักฐานสำคัญที่คู่รักจะต้องมี ในส่วนนี้จะเป็นการลงรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนของรายการเอกสารซึ่งทุกท่านควรจะเตรียมพร้อมไว้เพื่อใช้ยืนยันกับทางธนาคาร ซึ่งมีรายการทั้งหมด ดังนี้
ซึ่งนอกจากนี้ สำหรับคู่รัก LGBTQ+ ที่มีบุตรหรือรับบุปการะบุตร ก็สามารถที่จะใช้เอกสารการรับรองการอุปการะบุตรของคนใดคนหนึ่ง พร้อมด้วยรูปภาพครอบครัวหรือเอกสารยืนยันอื่น ๆ เพิ่มเติมได้อีกด้วย ซึ่งในส่วนนี้อาจจะมีความแตกต่างกันไปบ้างตามแต่ละธนาคาร ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขและรูปแบบการพิจารณาเอง
แนะนำสินเชื่อบ้าน LGBTQ+
ในส่วนนี้จะเป็นการแนะนำและหยิบยกรายการสินเชื่อบ้านสำหรับกลุ่มคู่รัก LGBTQ+ ที่น่าสนใจและที่สำคัญเป็นโครงการสินเชื่อที่ยังเปิดให้บริการอยู่ในขณะนี้เท่านั้น ซึ่งเพื่อให้ทุกท่านได้รับข้อมูลและรายละเอียดอย่างครบถ้วนเราจึงขอยกตัวอย่างสินเชื่อบ้านที่น่าสนใจมาให้ท่านพิจารณา 2 รายการ โดยจะเป็นการนำเสนอข้อมูลทั่วไป และข้อดีข้อเสียของสินเชื่อ ดังนั้นเมื่อพร้อมแล้วก็ตามไปดูกันเลย
สินเชื่อบ้านกรุงศรี สำหรับ คู่เพื่อน
ธนาคารกรุงศรีอยุธยาเป็นอีกหนึ่งสถาบันการเงินที่มีความพร้อมและยินดีนำเสนอรายการสินเชื่อสำหรับคู่รัก LGBTQ+ ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้านสำหรับคู่เพื่อน โดยเน้นความสำคัญของการมีบ้านร่วมกัน ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างครอบครัวที่อบอุ่น ด้วยการเปิดโอกาสให้คู้รัก LGBTQ+ สามารถกู้ร่วมเพื่อซื้อบ้านได้ตั้งแต่ วันนี้ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 หรือจนกว่าจะสิ้นสุดโครงการโดยมีการกำหนดเงื่อนไขไว้ ดังนี้
โดยรายการสินเชื่อบ้าน LGBTQ+ ของธนาคารกรุงศรีนั้นจะเป็นโครงการสำหรับสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ หรือ ที่อยู่อาศัยมือสอง ซึ่งจะต้องมีราคาซื้อขายตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป โดยอัตราดอกเบี้ยนั้นจะต้องเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด ซึ่งหากท่านสนใจและต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปศึกษาได้ ที่นี่ ด้วยตัวท่านเอง
ข้อดี – ข้อเสีย
น่าจะเป็นสินเชื่อบ้านสำหรับคู่รัก LGBTQ+ ลำดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้เมื่อกล่าวถึงสินเชื่อบ้านของธนาคารกรุงศรี เพราะด้วยข้อกำหนดที่ชัดเจนว่าเป็นสินเชื่อบ้านสำหรับคู่เพื่อน ที่มีความประสงค์จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ดังนั้น เงื่อนไขต่าง ๆ และรวมไปถึงการพิจารณาเรื่องของหลักฐานทั้งหมดก็นะเน้นไปที่หลักฐานร่วมที่แสดงถึงความต้องการที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นสำคัญ โดยจุดเด่นอีกประการก็คือ วงเงินของสินเชื่อที่สามารถให้ได้มากกว่า 3 ล้านบาท ดังนั้น สำหรับคู่ที่กำลังมองหาบ้านหรือคอนโดในเมืองใหญ่ ๆ ก็น่าจะพอใจสินเชื่อรายการนี้
สำหรับข้อเสียที่เห็นได้อย่างชัดเจนสำหรับสินเชื่อบ้าน คู่เพื่อน ก็คือ อายุของคู่รัก ซึ่งจะต้องอยู่ระหว่าง 27 – 65 ปี เท่านั้น ซึ่งสำหรับคู่รักวัยรุ่นวัยสร้างตัวที่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ก็อาจจะถูกปฏิเสธสินเชื่อได้นั่นเอง
สินเชื่อบ้าน กสิกร
มีบ้านร่วมกันได้ง่าย ๆ กับสินเชื่อบ้านของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งแม้ว่าจะไม่ใช่รายการสินเชื่อเพื่อกลุ่มคู่รัก LGBTQ+ โดยตรงแต่ทางธฯคารได้เปิดช่องสำหรับการยื่นกู้ร่วม ซึ่งทุกท่านที่สนใจสามารถใช้เอกสารและหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อยืนยันความสัมพันธ์ โดยรายการสินเชื่อบ้านกสิกรจะให้วงเงินที่ 90% ซึ่งเปิดโอกาสให้ผ่อนชำระได้นานสูงสุดที่ 30 ปี โดยมีการกำหนดเงื่อนไขของผู้กู้ ดังนี้
โดยหากท่านต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมก็สามารถเข้าศึกษาข้อมูลได้ด้วยตัวท่านเอง ที่นี่
ข้อดี – ข้อเสีย
ถือเป็นสินเชื่อบ้านที่ค่อนข้างยืดหยุ่นและไม่มีการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาสินเชื่อบ้านสำหรับกลุ่ม LGBTQ+ โดยเฉพาะเจาะจง ดังนั้น สำหรับคู่รัก LGBTQ+ ที่สนใจและต้องการมีบ้าน สินเชื่อนี้ก็อาจจะถือว่ามีโอกาสประมาณ 50% เท่านั้น เรียกได้ว่าจะต้องไปลุ้นกันตอนพิจารณา แต่เมื่อมองถึงเกณฑ์อายุ ที่เปิดโอกาสให้สมัครได้ตั้งแต่อายุ 20 ปี และไม่มีการกำหนดเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ซับซ้อน สินเชื่อบ้าน กสิกรไทยก็น่าจะเป็นอีกตัวเลือกสำหรับคู่นัก LGBTQ+ ทุกท่านได้เช่นกัน
แนะนำวิธีการอื่น ๆ สำหรับคู่รัก LGBTQ+
นอกจากรายการสินเชื่อบ้าน 2 รายการที่เรานำเสนอไปแล้วนั้น แท้จริงแล้วก็ยังมีอีกหลายธนาคารที่มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้านสำหรับคู่เพื่อน หรือคู่รัก LGBTQ+ ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารออมสิน แต่ด้วยระยะเวลาโครงการสินเชื่อซึ่งได้สิ้นสุดลงไปแล้วในช่วงปลายปี 2565 ส่งผลให้ ณ เวลานี้ ลูกค้าธนาคารออมสินก็ยังคงต้องรอคอยกันต่อไป ซึ่งสำหรับในส่วนสุดท้ายก่อนที่เราจะจากกันไป เรามีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับทุกท่านที่เป็นคู่เพื่อน คู่รัก LGBTQ+ ที่ต้องการมีบ้านร่วมกันนั้น ทุกท่านยังสามารถขอยื่นขอสินเชื่อในส่วนที่เป็นสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดย่อม หรือสินเชื่อ SME แล้วนำเงินมาก่อสร้างร้านค้า ซื้อตึกแถว หรือเปิดกิจการ ซึ่งท่านจะสามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยร่วมกันได้ ซึ่งในส่วนนี้การยื่นสมัครก็จะไม่มีข้อกำหนดในส่วนของเอกสารแสดงความสัมพันธ์ใด ๆ ทั้งสิ้น โดยจะใช้เอกสารการจดทะเบียนธุรกิจ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนแทน ซึ่งก็จะทำให้ท่านได้เงินเช่นเดียวกัน