โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน โดยมีทั้งที่รู้ตัวว่าป่วยและที่ไม่รู้ตัว ซึ่งบางคนอาจจะเป็นโดยที่ตัวเองไม่ทราบ และคิดว่าเป็น ทั้ง ๆ ที่ยังไม่เข้าใจและยังไม่รู้โรคนี้ดีมากพอ ซึ่งโรคซึมเศร้า วันรุ่น วันทำงานและวัยสูงอายุนั่นเป็นภัยเงียบที่สุดแสนจะอันตรายที่จะซ่อนอยู่ภายในจิตใจของผู้ป่วย และรอวันที่จะแสดงอาการออกมา โดยที่ไม่มีโอกาสทราบวัน เวลา ของการแสดงอาการ ดังที่พบตามหน้าข่าวมากมายที่อยู่ ๆ ก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด ทั้งการสูญเสียและเหตุเศร้าใจมากมาย โดยที่คนใกล้ชิดต่างยืนยันว่าเขาคนนั้นปกติดี
ดังนั้น การรักษาโรคซึมเศร้า และการให้คำปรึกษาโรคซึมเศร้าฟรีหรือแม้ต้องเสียค่าใช้จ่าย จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ที่ควรศึกษาข้อมูลและเพื่อเตรียมการไว้ก่อน เพราะการรักษาโรคซึมเศร้านั้นใช้ระยะเวลา และต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งผู้ป่วย และคนรอบข้าง เพื่อให้สามารถรักษาโรคซึมเศร้าให้หายขาด
ลิงก์ผู้สนับสนุน
โรคซึมเศร้า คือ
ก่อนที่เราจะทำความรู้จักวิธีการรักษาโรคซึมเศร้าและช่องทางการให้คำปรึกษาโรคซึมเศร้าฟรี เราต้องมาทำความเข้าใจโรคจริง ๆ เสียก่อน โดย โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติของสมองที่มีผลกระทบต่อความนึกคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรมและสุขภาพกาย ซึ่งในคนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าโรคซึมเศร้านั้น เป็นผลมาจากความผิดปกติของจิตใจเพียงด้านเดียว ซึ่งก็น่าจะแก้ไขให้หายได้ด้วยตัวเอง แต่ !! ในความเป็นจริงแล้วโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากความ ไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิดครับ คือ ซีโรโตนิน นอร์เอปิเนฟริน และโดพามีน ซึ่งการพยุงให้สารทั้ง 3 นี้มีความสมดุลก็สามารถใช้ยาแก้ซึมเศร้าช่วยได้ หรือในรายที่อาการไม่หนักมาก ก็ต้องให้การช่วยเหลือ ชี้แนะในการมองปัญหาต่าง ๆ ในมุมมองใหม่ แนวทางใหม่ ปรับตัว หรือการหาสิ่งที่ช่วยรักษาจิตใจให้ผ่อนคลายความทุกข์ลง ร่วมกับการใช้ยา
ด้วยเหตุนี้การให้ปรึกษาโรคซึมเศร้าฟรี จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ เพราะนอกจากการรักษาโรคซึมเศร้าแล้ว การให้ปรึกษาโรคซึมเศร้าฟรี หรือการทำแบบประเมินโรคซึมเศร้า ออนไลน์ เพื่อตรวจสอบสภาวะแรกเริ่มของตน ว่าป่วยหรือไม่ ก็สามารถช่วยให้กระบวนการรักษาโรคซึมเศร้ามีโอกาสสำเร็จมากขึ้น
โรคซึมเศร้า วัยรุ่น
วัยรุ่น วัยหนุ่มสาวเป็นวัยที่อยู่ในช่วงที่มีโอกาสพบปะผู้คนมากมาย อีกทั้งยังเป็นวัยที่เต็มไปด้วยกิจกรรม ทั้งการศึกษาเล่าเรียน และกิจกรรมอื่น ๆ ที่มีความสนใจ และที่สำคัญคือการค้นหา และการค้นพบตัวตนของตัวเอง ดังนั้นจึงไม่แปลกที่วัยรุ่นจะเป็นวัยที่ต้องแบกรับภาระมากมาย ทั้งความฝันของตนเอง ความคาดหวังของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ไปพร้อม ๆ กับการดำเนินชีวิต ซึ่งสภาวะนี้สามารถนำไปสู่ความเครียด และพัฒนาเป็นโรคซึมเศร้า วัยรุ่นได้
เนื่องจากภาระที่ต้องแบกรับความคาดหวังจากครอบครัว และเป็นวัยที่จะต้องเรียนรู้ ประสบพบเจอความท้าทาย ต่าง ๆ ซึ่งสามารถกลายเป็นความผิดหวัง และความไม่สมหวังได้ ทั้งเรื่องการเรียน การแข่งขัน และความรัก ซึ่งเป็นปัจจัยสูงสุดที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า วัยรุ่น โดยอาการแรกเริ่มของโรคซึมเศร้า วัยรุ่นนั้นสามารถที่จะตรวจพบ และสังเกตได้จากอาการต่าง ๆ ดังนี้ การแยกตัวโดดเดี่ยว เฉื่อยชาไม่สนใจตนเอง ไม่อยากพูดคุยกับใคร ไม่อยากเจอเพื่อน ไม่อยากไปโรงเรียนหรือสถานศึกษา ไม่มีสมาธิ กินไม่ได้นอนไม่หลับ มีอารมณ์หงุดหงิด ไม่ร่าเริง ร้องไห้แบบไม่มีเหตุผล ทั้งหมดล้วนเป็นอาการแรกเริ่มที่สามารถบ่งชี้อาการของโรคซึมเศร้า วัยรุ่นได้ทั้งนั้น อีกทั้งอาการโรคซึมเศร้า วัยรุ่นเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดสภาวะย่ำแย่ทางอารมณ์และจิตใตต่อเนื่อง เช่น เบื่อโลก รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง รู้สึกไร้ค่า สิ้นหวัง และมีความคิดที่จะทำร้ายตนเอง หรือคิดที่จะฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นสิ่งที่แย่ที่สุดสำหรับอาการโรคซึมเศร้า วัยรุ่น
ดังนั้น การรู้ตัวก่อน จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของการรักษาโรคซึมเศร้า ซึ่งสามารถสังเกตตนเองว่ามีอาการโรคซึมเศร้า วัยรุ่นดังกล่าวหรือไม่ หรืออาจจะเข้าขอคำปรึกษาโรคซึมเศร้าฟรี และสามารถเข้าทำแบบประเมินโรคซึมเศร้า ออนไลน์ เพื่อเป็นการสำรวจตัวเองแรกเริ่มว่ามีอาการของโรคซึมเศร้า วัยรุ่นหรือไม่ เพื่อที่จะได้ดำเนินการรักษาโรคซึมเศร้าต่อไป ซึ่งเป็นการรักษาโรคซึมเศร้าที่ใช้เวลา และใช้ความร่วมมือจากบุคคลรอบข้าง เพื่อให้อาการโรคซึมเศร้า วัยรุ่นนี้ค่อย ๆ ลดลง
แบบประเมินโรคซึมเศร้า ออนไลน์
ปัจจุบัน การรักษาโรคซึมเศร้าได้มีการพัฒนารูปแบบให้มีความรวดเร็วและทันสมัยมากยิ่งขึ้นโดย กรมสุขภาพจิต นักวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ แพทย์และหน่วยงานด้านสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญต่อการรักษาโรคซึมเศร้า เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีโอกาสได้สำรวจตัวเองเป็นอันดับแรก ให้รู้ตัวว่าตนเองนั้นมีโอกาสป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ และจะได้ดำเนินการรักษาโรคซึมเศร้าได้อย่างทันท่วงที โดยการพัฒนาและสร้างแบบประเมินโรคซึมเศร้า ออนไลน์ขึ้น เป็นช่องทางพิเศษให้ทุกคนสามารถเข้ามาทำการประเมินอาการโรคซึมเศร้าเบื้องต้น
โดยการทำแบบประเมินโรคซึมเศร้า ออนไลน์ ด้วยการตรวจ 9 พฤติกรรมเสี่ยงโรคซึมเศร้า ว่ามีอาการต่าง ๆ ในรอบระยะเวลา 2 สัปดาห์อย่างไร แล้วนำมาคำนวณเป้นตัวเลขเพื่อสรุปเป็นข้อมูล ซึ่งสามารถนำไปเทียบเป็นระดับความเสี่ยงของการเป็นโรคซึมเศร้าต่อไปได้ และแบบประเมินโรคซึมเศร้า ออนไลน์ PHQ – 9 โดยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นแบบประเมินโรคซึมเศร้า ออนไลน์อีกแบบทดสอบที่มีความน่าเชื่อถือ และสามารถนำมาใช้เป็นแบบประเมินโรคซึมเศร้า ออนไลน์ โดยแบบประเมินเหล่านี้ได้รับการพัฒนาจาก แบบสอบถามสุขภาพผู้ป่วย (Patient Health Questionnaire: PHQ – 9) ของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ มาโนช หล่อตระกูล และคณะ สังกัดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นแบบประเมินโรคซึมเศร้า ออนไลน์ระดับภาวะซึมเศร้าในขั้นต้น
ส่วนการวินิจฉัยและการรักษาโรคซึมเศร้านั้น จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย รวมถึงส่งตรวจเพิ่มเติม เพื่อยืนยันการวินิจฉัยที่แน่นอน รวมถึงเพื่อแยกโรคและภาวะอื่น ๆ เนื่องจากการรักษาโรคซึมเศร้านั้น มีความจำเป็นที่จะต้องจำแนกอาการและระดับของโรคซึมเศร้าก่อน แล้วจึงดำเนินการรักษาโรคซึมเศร้านั้น ๆ ตามสาเหตุและอาการต่าง ๆ เช่น ต้องแยกเป็นโรคซึมเศร้าทางจิตเวชที่อาจมีอาการอื่นแทรกเช่น โรคไทรอยด์ โรคภูมิแพ้ตัวเอง ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องแยกการใช้ยาแบบเฉพาระสำหรับการรักษาโรคซึมเศร้า
วิธีการทำแบบประเมินโรคซึมเศร้า ออนไลน์
แบบประเมินโรคซึมเศร้า ออนไลน์นี้เริ่มต้นจากการให้ผู้ทำแบบประเมินสำรวจตัวเองว่าในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ทำแบบประเมินโรคซึมเศร้า ออนไลน์นี้มีพฤติกรรมดังต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด โดยเรียงลำดับคะแนนจาก 0 – 3 คือ 0 คือ ไม่มีเลย/ 1 คือ มีบางวันหรือไม่บ่อย/ 2 คือ มีค่อนข้างบ่อย/ 3 คือ มีเกือบทุกวัน
- เบื่อ ทำอะไร ๆ ก็ไม่เพลิดเพลิน
- ไม่สบายใจ ซึมเศร้า หรือท้อแท้
- นอนหลับยาก หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือนอนหลับมากเกินไป
- มีอาการเหนื่อยง่าย หรือไม่ค่อยมีแรง
- เบื่ออาหาร หรืออาจกินมากเกินไป
- รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าตัวเองล้มเหลว หรือเป็นคนทำให้ตัวเองหรือครอบครัวผิดหวัง
- ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ อ่านหนังสือ หรือทำงานที่ต้องอาศัยความตั้งใจ
- พูดหรือทำอะไรช้า จนคนอื่นมองเห็นและสังเกตเห็น หรือรู้สึกกระสับกระส่ายจนไม่สามารถอยู่นิ่งได้ เหมือนปกติ
- มีความคิดที่จะทำร้ายตนเอง หรือคิดว่าถ้าตายหรือจบชีวิตคงจะดีกว่า
ทั้งหมด คือ 9 พฤติกรรมที่จะต้องทำแบบประเมินโรคซึมเศร้า ออนไลน์เพื่อให้ได้คะแนนเป็นตัวเลข แล้วจึงนำมาสังเคราะห์เทียบกับระดับคะแนนการประเมินตนเอง ซึ่งหากได้คะแนน 0 – 6 ถือว่า ปกติ และควรดูแลสุขภาพจิตของตนเองให้ดีต่อไป
หากได้คะแนน 7 – 12 คะแนน ถือว่า ซึมเศร้าเล็กน้อย ควรได้รับคำปรึกษา หรือการรักษาโรคซึมเศร้า เพื่อบำบัดทางจิตเวช
หากได้คะแนน 13 – 18 คะแนน ถือว่า ซึมเศร้าปานกลาง ควรได้รับคำปรึกษา หรือการรักษาโรคซึมเศร้า เพื่อบำบัดทางจิตเวช
หากได้คะแนน 19 – 27 คะแนน ถือว่า ซึมเศร้าปานกลาง ควรได้รับคำปรึกษา หรือการรักษาโรคซึมเศร้า เพื่อบำบัดทางจิตเวชอย่างเร่งด่วน
อย่างไรก็ตาม ผลการประเมินนี้เป็นผลจากการทำแบบประเมินโรคซึมเศร้า ออนไลน์ซึ่งไม่สามารถใช้แทนการตัดสินใจหรือการวินิจฉัยของแพทย์ได้ ดังนั้น หากไม่แน่ใจหรือยังมีข้อกังวล ควรเข้าตรวจและรักษาโรคซึมเศร้ากับแพทย์ หรือจิตแพทย์ในทันที ซึ่งสามารถขอรับคำปรึกษาโรคซึมเศร้าฟรี ได้ที่หน่วยงานหลายแห่ง ทั้งที่เป็นโรงพยาบาล และสาธารณสุขต่าง ๆ ก็พร้อมแบะยินดีให้คำปรึกษาโรคซึมเศร้าฟรี
แบบประเมินโรคซึมเศร้า ออนไลน์ 9 คำถาม (9Q) งานประชาสัมพันธ์กรมสุขภาพจิต ที่นี่
แบบประเมินโรคซึมเศร้า ออนไลน์ แบบทดสอบ ภาวะซึมเศร้า PHQ – 9 ที่นี่
หากคุณมีข้อสงสัย และมีความไม่สบายใจเกี่ยวกับอาการของโรคซึมเศร้า หรือแม้กระทั้งกำลังมีความวิตกกังวลว่าคุณกำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ ปัจจุบันมีการให้บริการปรึกษาโรคซึมเศร้าฟรี โดยนอกจากคุณจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เป็นการให้คำปรึกษาโรคซึมเศร้าฟรีแล้ว คุณอาจจะไม่ต้องเดินทางออกไปขอคำปรึกษาเป็นการให้บริการ ปรึกษาโรคซึมเศร้าฟรีออนไลน์ได้อีกด้วย โดยเราได้รวบรวมแหล่งและช่องทางให้คำปรึกษาโรคซึมเศร้าฟรีที่มีความน่าเชื่อถือและสามารถอ้างอิงตรวจการให้คำปรึกษา เพื่อนำไปรักษาโรคซึมเศร้าต่อได้ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ปรึกษาโรคซึมเศร้าฟรี 2566 : Love Care Station
เว็บไซต์ที่เน้นการให้คำปรึกษาโรคซึมเศร้าฟรีออนไลน์ สำหรับกลุ่มวัยรุ่น วัยเรียน โรคซึมเศร้า วัยรุ่น เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ สำหรับวัยรุ่นโดยเฉพาะ โดยมีลักษณะการช่วยเหลือเด็กวัยรุ่นให้คำปรึกษาแบบเว็บบอร์ด ที่นำเสนอข้อมูลที่สามารถเชื่อถือได้ ดำเนินงานโดย มูลนิธิแพธทูเฮลท์ (p2h) ภายใต้การสนับสนุนขององค์กรยูนิเซฟ ประเทศไทย ให้บริการคำปรึกษาโรคซึมเศร้าฟรี และปัญหาอื่น ๆ มากมาย เช่น Covid – 19/ เมื่อฉันเป็นวัยรุ่น/ เรื่องเล่าจากลุงหมอ/ สถานพยาบาลที่เป็นมิตร/ สุขภาพจิต/ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ เป็นต้น
Love care station ที่นี่
ปรึกษาโรคซึมเศร้าฟรี 2566 : ศูนย์สุขภาวะทางจิต (Center for Psychological Wellness)
ศูนย์สุขภาวะทางจิต เป็นหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาโรคซึมเศร้าฟรี และอาจมีค่าใช้จ่ายไม่เกิน 1000 บาท ด้วยบุคลากรคุณภาพจากคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีการหมุนเวียนกันมาให้คำปรึกษาโรคซึมเศร้าฟรี – 800 บาท แก่ประชาชน โดยให้บริการแบบตัวต่อตัวเท่านั้น เนื่องจากการรักษาโรคซึมเศร้านั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้ข้อมูลเชิงลึก ซึ่งเป็นข้อมูลเฉพาะของผู้ป่วย อีกทั้งยังเป็นข้อมูลซึ่งเป็นความลับ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการตามหลักการที่ถูกต้องของการเก็บข้อมูล โดยเปิดให้บริการที่ชั้น 5 ตึกคณะจิตวิทยา วันจันทร์ – วันศุกร์ 09.00 – 17.00 น.
โทร 02 – 2181171
ปรึกษาโรคซึมเศร้าฟรีออนไลน์ 2566 : สายด่วนสุขภาพจิต 1323
การให้บริการคำปรึกษาโรคซึมเศร้าฟรี ด้วยสายด่วน 1323 เป็นการให้บริการของกรมสุขภาพจิต ที่เปิดให้บริการด้วยการโทรเท่านั้น แต่นอกเหนือจากการโทร ประชาชนทั่วไปที่มีความต้องการขอรับการบริการยังสามารถทิ้งข้อความ และอาการไว้ที่เพจของสายด่วน เพื่อรอให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ เป็นอีกช่องทางการขอคำปรึกษาโรคซึมเศร้าฟรี ที่สะดวกและรวดเร็ว ซึ่งให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งสายด่วน 1323 และ Facebook สายด่วนสุขภาพจิต