ณ เวลานี้ ประกันสังคมหรือกองทุนประกันสังคมนั้น สามารถเป็นได้ทั้งที่พึ่งและเป็นกองทุนที่ผู้ประกันตนทุกคน สามารถนำส่งเงินสมทบ เพื่อเก็บไว้เสริมสร้างความมั่นคงในอนาคตได้ ประกอบกับในช่วงที่รัฐบาลได้ดำเนินการให้เงินเยียวยาเหล่าผู้ประกันตนที่ได้รับความเดือดร้อนซึ่งรับเงินฟรี 5,000 บาทได้สบาย ๆ นั้น คงมีอักหลายท่านที่ให้ความสนใจสมัครและต้องการเข้ามาขอรับสิทธิผลประโยชน์ทดแทนเพื่อโอกาสในการรับสิทธิประโยชน์ในอนาคต แต่เมื่อสมัครไปแล้วหลายสิ่งอาจไม่เป็นอย่างที่คิด นำมาซึ่งความต้องการยกเลิก ประกัน สังคม มาตรา 40
ดังนั้นในครั้งนี้ เราจึงได้สืบค้นข้อมูลและรายละเอียดของวิธีการยกเลิก ประกัน สังคม มาตรา 40 ซึ่งมีวิธีการต่าง ๆ ขอเพียงทุกท่านอ่านและศึกษาข้อมูลจากบทความ “ยกเลิกประกันสังคม มาตรา 40 ยังไง” ของเราซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ผู้ประกันตนมาตรการ 40 ได้อะไร
ก่อนที่เราจะได้ดูวิธีการยกเลิก ประกัน สังคม มาตรา 40 นั้นเราต้องกลับมาทบทวนความหมายของผู้ประกันตนและสิทธิต่าง ๆ ที่มาตรา 40 จะได้รับ โดยผู้ประกันตนคือ ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ซึ่งทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ซึ่งได้รับความคุ้มครองสิทธิประกันสังคม 7 กรณี คือ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน โดยถ้าลูกจ้างอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แต่นายจ้างยังจ้างงานให้ทำงานต่อ ให้ถือว่าเป็นผู้ประกับตนต่อไป และยังคงได้รับสิทธิผู้ประกันตน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มที่ทำงานประจำ ต้องจ่ายเงินสมทบตามกฎหมาย
- กลุ่มที่ทำงานประจำ แต่ลาออกและไม่ได้สมัครงานประจำต่อ ซึ่งเคยจ่ายเงิน สมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือนตอนที่ยังทำงานประจำอยู่ และลาออกจากงานประจำไม่เกิน 6 เดือนเมื่อลาออกแล้วยังสมัครใจที่จะจ่ายเงินสมทบต่อ เพื่อรับสิทธิประกันสังคมต่อเนื่อง (มาตรา 39)
- รวมไปถึงกลุ่มที่ไม่ได้ทำงานประจำ (เป็นฟรีแลนซ์) อายุ 15 – 60 ปี เลือกจ่ายเงินสมทบเองเพื่อให้ได้สิทธิประกันสังคม (มาตรา 40)
โดยในวันนี้เราะมาเจาะลึกสำหรับผู้ประกันตน มารตรา 40 โดยเฉพาะ ซึ่งก่อนที่จะยกเลิก ประกัน สังคม มาตรา 40 เราขอทบทวนสิทธิประโยชน์ที่ท่านจะได้รับ ซึ่งมีดังนี้
ผู้ประกันตน มาตรา 40
สิทธิประกันสังคม ตามมาตรา 40 คือช่องทางสร้างหลักประกันในชีวิตให้กับประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ ทุกอาชีพที่ไม่มีนายจ้าง ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้า แม่ค้าตลาดนัด หาบเร่แผงลอยหรือฟรีแลนซ์ โดยสามารถได้รับสิทธิประกันสังคม สำหรับการเป็นผู้ประกันตน 3 – 5 กรณี ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการจ่ายเงินสมทบ โดยสามารถเลือกได้ตามรายละเอียด ดังนี้
- ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือนสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย (ช่วงเดือน สิงหาคม 64 – มกราคม 65 ลดเงินสมทบเหลือ 42 บาท)
- ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือนสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ (ช่วงเดือน สิงหาคม 64 – มกราคม 65 ลดเงินสมทบเหลือ 60 บาท)
- ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือนสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร (ช่วงเดือน สิงหาคม 64 – มกราคม 65 ลดเงินสมทบเหลือ 80 บาท)
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อที่ 1506 หรือ สำนักงานประกันสังคม
ยกเลิกประกันสังคม มาตรา 40 ยังไง
วิธีการขอยกเลิก ประกัน สังคม มาตรา 40 นั้น แท้จริงแล้ว “แม้ท่านไม่ยกเลิก ประกันสังคมจะยกเลิกท่านทันทีเมื่อท่านขาดการจ่ายเงินสมทบ” ซึ่งเป็นวิธีการยกเลิก ประกัน สังคม มาตรา 40 ที่ง่ายที่สุด แต่สิ่งที่ท่านควรทำเพื่อให้การบอกยกเลิก ประกัน สังคม มาตรา 40 นั้นอย่างถูกต้อง คือ การเข้าติดต่อกับสำนักงานประกันสังคมเพื่อแจ้งความจำนงไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ซึ่งทุกท่านต้องเข้าติดต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อกรอกแบบแจ้งความจำนงไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1 – 40/2) โดยในแบบฟอร์มท่านจะต้องกรอกรายละเอียดดังต่อไปนี้ เพื่อขอยกเลิก ประกัน สังคม มาตรา 40
- ชื่อ – นามสกุล
- หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก
- วันเดือน ปี พ.ศ. เกิด
- เลือกผู้ประกันตน ตามทางเลือกที่ท่านเลือกไว้ 1/ 2/ 3
- กรอกที่อยู่ปัจจุบัน
- และลงวันที่ที่ท่านต้องการยกเลิก ประกัน สังคม มาตรา 40 พร้อมระบุเหตุผลการแจ้งความจำนง
- เซ็นชื่อรับรอง
เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการขอยกเลิก ประกัน สังคม มาตรา 40 ด้วยการยื่นเอกสารอย่างถูกต้องที่สำนักงานประกันสังคม ซึ่งการยกเลิก ประกัน สังคม มาตรา 40 นั้นในปัจจุบันยังไม่สามารถดำเนินการยกเลิกผ่านระบบแอป หรือออนไลน์ได้ ทั้งนี้หากมีประเด็นคำถามเพิ่มเติมทุกท่านสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1506 สายด่วนประกันสังคม
อ้างอิง 1