รัฐบาลได้ออกมาตรการดูแลผลกระทบทางเศรษฐกิจ และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ โควิด-19 (COVID-19) โดยมาตรการดังกล่าวจะครอบคลุมผู้ที่ดูแลผลกระทบทั้งเจ้าของกิจการ มนุษย์เงินเดือน คนหาเช้ากินค่ำ เจ้าของหาบเร่แผงลอย โดยมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการจะประกอบด้วยมาตรการทางการเงินและมาตรการทางภาษี สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ลิงก์ผู้สนับสนุน
12 มาตรการ ระยะที่ 1
มาตรการทางการเงิน
– สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อ 2 ปี วงเงินสูงสุดไม่เกิน 20 ล้านบาทต่อราย
– พักเงินต้นลดดอกเบี้ยและขยายเวลาชำระหนี้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
– ธปท. ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การปรับโครงสร้างหนี้
– สินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานของประกันสังคม ดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ 3% ต่อปี ระยะเวลา 3 ปี
– บรรเทาภาระค่าน้ำและค่าไฟ คืนเงินประกันค่ามิเตอร์ไฟฟ้า
– ลดเงินสมทบเข้ากองทุนเงินประกันสังคมของนายจ้างและลูกจ้าง มาตรา 33 จาก 5% เหลือ 4% มาตรา 39 จาก 9% เหลือ 7%
– ไม่ปลดแรงงาน หักรายจ่างค่าจ้างงานได้ 3 เท่า
– บรรเทาภาระค่าธรรมเนียม ค่าเช่า ค่าตอบแทนการให้บริการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เลื่อนการจ่ายค่าเช่าที่ดินราชพัสดุ สำหรับผู้เช่าประเภทผู้ประกอบการในธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
มาตรการทางภาษี
– หักเพิ่มภาษีดอกเบี้ยจ่าย จาก 1 เท่าเป็น 1.5 เท่า
– คืนสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการ ลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย จาก 3% เหลือ 1.5% (เม.ย. – ก.ย. 63)
– เร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการส่งออก กรณียื่นแบบภาษีทางอินเตอร์เน็ต ได้รับคืนภายใน 15 วัน กรณียื่นปกติรับคืนภายใน 45 วัน
ที่มา: https://web.facebook.com/DrNarumonP/photos/a.224893475098339/538480717072945/?type=3&theater