ประกันสังคม ว่างงาน เงินทดแทน/เงินชดเชย ลงทะเบียนยังไง 2564

ตามปกติแล้ว หากคุณเป็นมนุษย์เงินเดือนที่มีการหักเงินเดือนส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน เมื่อมีเหตุให้ต้องออกจากงานหรือลาออกเองด้วยสาเหตุต่าง ๆ คุณจะมีสิทธิรับเงินทดแทน/เงินชดเชยจากกองทุนประกันสังคม เพียงแต่ต้องดำเนินการรขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผู้ประกันตนกรณีว่างงานให้เรียบร้อยเสียก่อน ซึ่งขั้นตอนในการขึ้นทะเบียนก็ไม่ได้มีความซับซ้อนแต่อย่างใด คุณสามารถทำด้วยตนเองง่าย ๆ ผ่านระบบออนไลน์ ตามขั้นตอนที่เราสรุปมาแนะนำกันในวันนี้

 

ลิงก์ผู้สนับสนุน

ลงทะเบียนประกันสังคมว่างงาน รับเงินทดแทน/ชดเชย

– เริ่มแรกให้คุณเข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมการจัดหางาน

– จากนั้นให้คลิกเมนู ‘ลงทะเบียนเข้าใช้งาน’ > ยอมรับเงื่อนไข > กรอกข้อมูลบัตรประชาชน > กรอกข้อมูลส่วนตัว > ดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน

– หลังจากนั้น คุณจะได้รับหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน และวันที่นัดรายงานตัวจากระบบออนไลน์ ให้ปริ้นท์เอกสารออกมา จำนวน 2 ชุด ประกอบด้วย ใบนัดรายงานตัว และแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) กรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน

– นำเอกสารทั้ง 2 ชุด ไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน พร้อมแนบเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาสมุดบัญชีธนาคารที่เป็นชื่อของตนเองเท่านั้น  หลังจากยื่นเอกสารเรียบร้อยแล้ว คุณก็จะได้รับเงินทดแทน/ชดเชยกรณีว่างงานในเดือนถัดมา

 

ประกันสังคม ว่างงาน เงินทดแทน/ชดเชย กรณีได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรน่าหรือโควิด-19 (COVID-19)

สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่หรือโควิด-19 คุณมีสิทธิที่จะได้รับเงินชดเชย/ทดแทนกรณีที่ต้องว่างงานหรือหยุดพักงานชั่วคราวจากประกันสังคม หากมีคุณสมบัติสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้

กรณีนายจ้างไม่ให้ทำงาน ให้กักตัว 14 วัน เพราะมีเหตุสงสัยหรือควรสงสัยว่าลูกจ้างอาจเป็นโรคโควิด-19 และไม่จ่ายค่าจ้าง

– ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย ในอัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน ตามที่นายจ้างรับรองการหยุดงาน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคมีคำสั่งให้กักตัว แต่ไม่เกิน 90 วัน ซึ่งหากคุณมีคุณสมบัติตามนี้จะได้รับเงินชดเชย จ่าย 50% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน ให้สามารถลงทะเบียนผ่าน e-form กรณีว่างงานทางเว็บไซต์ www.sso.go.th ทั้งนี้ คุณจะต้องมีสถานะเป็นลูกจ้างโดยยังไม่ได้ลาออกหรือถูกเลิกจ้าง และส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนได้รับผลกระทบ

กรณีหน่วยงานภาครัฐ มีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว ทำให้ไม่สามารถทำงานได้

– ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินชดเชย 50% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน โดยให้สามารถลงทะเบียนผ่าน e-form กรณีว่างงานทางเว็บไซต์ www.sso.go.th ทั้งนี้ คุณจะต้องมีสถานะเป็นลูกจ้างโดยยังไม่ได้ลาออกหรือถูกเลิกจ้าง และส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนได้รับผลกระทบ