ข้อห้ามของการต่อเติมบ้าน 2567

ลองได้เลย สำหรับท่านที่กำลังมีแผนจะซ่อมแซมและต่อเติมบ้าน เชื่อเลยว่าคงมีไม่น้อยเมื่อนำแผนการต่อเติมเข้าพูดคุยกับช่าง ผลที่ได้มักจะไม่เป็นไปตามความคาดหวัง ด้วยประเด็นด้านราคาและปัญหาหน้างานที่อาจจะตามมาอีกมาก ส่งผลให้ส่วนใหญ่นั้น วิธีหาช่างซ่อมบ้านโดยมากจะไม่ค่อยรับงานแก้ งานซ่อมซึ่งจะใช้เวลาและอาจจะไม่คุ้มค่ากับแรงกายและกำลังเงินที่ต้องเสีย ดังนั้นเพื่อให้ทุกท่านได้รับข้อมูลและข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซ่อมแซมและต่อเติมบ้าน เราจึงมาพร้อมกับบทความ “คิดก่อนทำ รวมสารพัดปัญหาซ่อม ต่อเติมบ้าน” เราไปดูกันเลยว่าจะหนักหนาขนาดไหน

 

กฎหมายการต่อเติมบ้าน

ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวข้อบทกฎหมายเป็นสำคัญนั้น คือประเด็นหลัก ๆ ที่ทุกท่านอาจจะต้องพิจารณาก่อนการตัดสินใจซ่อมและต่อเติมบ้าน เพื่อป้องกันปัญหาการ ต่อ เติม บ้านที่อาจจะตามมา ทั้งนี้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อเติมบ้านโดยตรง คือ พระราชบัญญัติควบุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 และ 39 ทวิ ซึ่งสามารถสรุปให้สามารถทำความเข้าใจง่าย ๆ คือ

  • การที่ท่านจะดำเนินการดัดแปลง ต่อเติมอาคาร นั้น เบื้องต้นจะต้องแจ้งและต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานท้องถิ่นก่อนเสมอ ตามมาตรา 21 พร้อมด้วยท่านจะต้องยื่นแบบแปลน รวมถึงชื่อสถาปนิกและวิศวกรที่ควบคุมงานให้เจ้าพนักงานทราบ
  • ปัญหาการต่อ เติมบ้าน อีกประการตามข้อกฎหมายนั้น มีการระบุว่า ทุกท่านจะต้องห้ามต่อเติมอาคารเต็มพื้นที่ดิน ซึ่งจะต้องมีพื้นที่ว่างเหลือไม่น้อยกว่า 30% ซึ่งประเด็นนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจาก การป้องกันในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น เพลิงไหม้ หรือภัยพิบัติ ซึ่งพื้นที่นั้นควรจะมีที่ว่างเพียงพอและไม่ก่อให้เกิดโอกาสในการลุกลาม ซึ่งกฎหมายได้กำหนดไว้คือ ท่านจะต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 30 ใน 100 ส่วนของที่ดิน ทั้งนี้หากเป็นอาคารสูงไม่เกิน 15 เมตร จะต้องมีที่ว่างโดยรวบ 1.00 เมตร และถ้าอาคารสูงกว่า 15 เมตร จะต้องมีที่ว่างโดยรอบ 2.00 เมตร
  • แนวอาคารและระยะร่นต่าง ๆ สำหรับรั้วหรือกำแพงที่สร้างขึ้นติดต่อหรือห่างจากถนนสาธารณะน้อยกว่าความสูงของรั้วให้ก่อสร้างได้สูงไม่เกิน 3 เมตร เหนือระดับทางเท้าหรือถนนสาธารณะ
  • อาคารที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่เกิน 23 เมตร ผนังของอาคาร ช่องเปิด ซึ่งหมายถึง หน้าต่าง ประตู ช่อลม ช่องแสง หรือระเบียงของอาคารต้องอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดิน 3 เมตร และสำหรับอาคารสูงไม่เกิน 9 เมตร ควรเว้นระยะห่างของผนัง ช่องเปิด จากที่ดินใกล้เคียงไม่น้อยกว่า 2 เมตร แต่ถ้าเป็นผนังทึบต้องเว้นระยะห่างไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร

และสำหรับประเด็นสุดท้ายที่ทุกท่านจะต้องพิจารณาก่อนการหาวิธีหาซ่อมแซมบ้าน คือ ทุกท่านจะต้องได้รับความยินยอมจากเพื่อนบ้านข้างเคียง และงานที่ดำเนินการไม่ว่าจะเป็นการซ่อมแซมหรือต่อเติมบ้านนั้น จะต้องมีสถาปนิกคุมงาน ซึ่งหากเจ้าบ้านไม่ดำเนินการงานดังนี้ เจ้าบ้านอาจได้รับโทษจำคุก ไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้นก่อนที่จะไปกังวลกับปัญหาการ ต่อ เติม บ้าน ทุกท่านควรพิจารณาประเด็นเกี่ยวกับกฎหมายเหล่านี้ก่อนเป็นอับดับแรก

 

ปัญหาการต่อเติมบ้าน

ในส่วนนี้จะเป็นการรวบรวมสารพัดปัญหาที่เกิดจาการซ่อมแซม และต่อเติมบ้าน ซึ่งก่อนที่ท่านจะตัดสินใจดำเนินการ ทุกท่านควรพิจารณาประเด็นเหล่านี้ก่อนเป็นอับดับแรก

ปัญหาระบบน้ำ ระบบไฟ

แน่นอนว่าเมื่อบ้านนั้นเป็นบ้านเก่า ระบบน้ำและระบบไฟสำหรับหลาย ๆ ท่านนั้น ก็มักจะเป็นการดำเนินการติดตั้งในรูปแบบและวิธีการก่อสร้างแบบเก่า เช่น การฝังท่อน้ำไวในผนัง การเดินไฟรวมในท่อ PVC ซึ่งการดำเนินการเหล่านี้จะส่งผลให้เมื่อเกิดปัญหา ผู้แก้ไขหรือวิธีหาช่างซ่อมแซมบ้านนั้นจะดำเนินการแก้และเปลี่ยนแปลงได้ยาก เพราะระบบทั้งหมดจะอยู่ในผนังและกำแพงซึ่งจะต้องทุบและเจาะผนัง โดยย่อมก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย ดังนั้นประเด็นเกี่ยวกับระบบน้ำและระบบไฟ ทุกท่านควรพิจารณาและตัดสินใจให้ดี

ปัญหาผนังปูนแตกลายงา

ปัญหาการแตกลายงานั้น มักจะเกิดขึ้นจากการที่ปูนซึ่งช่างซ่อมแซมบ้านนั้นฉาบและแห้งเร็วเกินไป จนเป็นผลให้เนื้อปูนแตกและน้ำระเหยเร็วเกินไป ทั้งนี้ประเด็นเหล่านี้มักเกิดจาก น้ำ ซึ่งจะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดความแห้ง โดยทุกท่านควรดำเนินการดังต่อไปนี้ก่อนการฉาบปูนเพื่อปิดหน้ผนัง

  • นำอิฐแช่น้ำก่อน 1 ชั่วโมง หรือใช้สายยางฉีดน้ำให้อิฐมีความชุ่มชื้นก่อน เพื่ออิฐจะสามารถอิ่มน้ำ จะได้ไม่มีการแย่งน้ำจากเนื้อปูนขณะก่อนั่นเอง
  • หลังจากที่ท่านก่อเสร็จแล้ว ควรทิ้งช่วงให้ชั้นปูนก่ออยู่ตัว ก่อนทำการฉาบต่อไป และควรรดน้ำหรือฉีดน้ำอีกครั้งในวันที่เข้าฉาบปูน
  • ทำการบ่มผนัง โดยรดน้ำที่ฉายเสร็จแล้วต่อเนื่อง 3 – 7 วัน อย่างน้อยวันละครั้ง
  • ส่วนที่อาจจโดนความร้อนสูงนั้น ทุกท่านควรใช้ตะแกรงกรงไก่ก่อนฉาบปูน เพื่อป้องกันความร้อนกระทบกับผนัง

ปัญหาพื้นที่จอดรถทรุด

ฟื้นที่จอดรถนั้นถือเปนส่วนที่มีความสำคัญอีกส่วน โดยจะต้องเป็นส่วนที่สามารถรับน้ำหนักได้ดี ซึ่งโดยมากนั้นพื้นที่นี้มักจะเกิดการทรุดและมีรอยแยกออกจากโครงสร้างบ้านอย่างชัดเจนเมื่อระยะเวลาผ่านไป ดังนั้นสำหรับพื้นที่บ้านที่ไม่มีการวางพื้นแบบ วางบนดิน ซึ่งไม่มีการตอกเสาเข็ม ทุกท่านสามารถป้องกันการทรุดตัวได้โดย ท่านควรทิ้งระยะเวลาให้ดินถมอยู่ตัวก่อนสร้างบ้าน หรือให้มีการผสมก้อนดินหรือกรวดเข้าไปในส่วนของดินใต้พื้นที่จอดรถ โดยวิธีการนี้จะสามารถช่วยให้พื้นดินอัดแน่นและสามารถรับน้ำหนักได้มากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม หากพื้นที่จอดรถนั้นเสียหายและทรุดตัวมาก ท่านก็จำเป็นต้องทุบและปรับพื้นที่ใหม่ เพื่อทำที่จอดรถใหม่เช่นกัน

น้ำรั่วซึม หรือหลังคารั่ว

ในส่วนนี้อาจจะเป็นผลมาจาก การซ่อมแซมและต่อเติมหลังคาของบ้านและอาคาร โดยอาจจะมีบางส่วนที่ต่อเติมแล้วไปปิดทางเดินของน้ำ เมื่อเกิดฝนตกหนักหรือมีลมพายุ จึงส่งผลให้น้ำไม่สามารถระบายออกไปได้ตามปกติ และเกิดการไหลย้อนกลับเข้าสู่ตัวบ้าน ซึ่งในส่วนนี้ทุกท่านควรตรวจสอบรายละเอียดและศึกษาทางเดินของน้ำให้ดีก่อนการตกลงรับงาน เพราะส่วนใหญ่เจ้าบ้านมักจะไม่มีโอกาสในการตรวจงานในช่วงฤดูฝนซึ่งฝนจะตกหนัก เพราะส่วนใหญ่เรามักจะซ่อมแซมบ้านในช่วงฤดูหนาวและฤดูแห้งมากกว่า ดังนั้น ควรพิจารณาและตรวจสอบให้ดี

อ้างอิง 1