เชื่อเลยว่าสำหรับหลาย ๆ ท่านแล้ว การเดินทางไปท่องเที่ยวในต่างแดน โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ในภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก อย่างเช่น ยุโรป อเมริกา หรืออื่น ๆ นั้น ย่อมเป็นความฝันอันสูงสุด ซึ่งก่อนที่ทุกทานจะสามารถเดินทางไปเที่ยวในต่างประเทศได้นั้น เราคงจะต้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “วีซ่าเชงเก้น” กันเสียก่อน ว่าวีซ่าชนิดนี้คืออะไร และที่สำคัญคือ มีประเทศไหนบ้างที่ใช้ วีซ่าเชงเก้น วันนี้เราจะมาดูกัน
Advertisement
วีซ่าเชงเก้น
คำว่า เชงเก้น หรือ Schengen นั้นมาจาก “ความตกลงเชงเก้น (Schengen Agreement) ซึ่งเป็นความตกลงระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศในทวีปยุโรป ที่ได้รับการอนุญาตให้สมาชิกในกลุ่ม ซึ่งทั้งหมดในปัจจุบันนั้นมีกัน 26 ประเทศ สามารถเดินทางเข้าออกในประเทศที่เป็นภาคีของข้อตกลงนี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องถือหนังสือเดินทาง ทั้งนี้ นอกจากการยกเว้นการเดินทางที่ไม่ต้องพกหนังสือเดินทางแล้ว กลุ่มประเทศในข้อตกลงเชงเก้นนั้นยังอนุญาตให้ผู้ที่ถือ “วีซ่าเชงเก้น” ชั่วคราวนั้นสามารถมีสิทธิเดินทางได้ชั่วคราวในประเทศสมาชิกโดยสามารถถือเพียงแค่เอกสารหรือหนังสือใบเดียวเท่านั้น โดยเป็นไปตามข้อตกลงตามสนธิสัญญาอัมส์เตอร์ดัม ซึ่งเราจึงเรียกการดำเนินการนี้และเรียกเอกสารนี้ว่า “วีซ่าเชงเก้น” นั่นเอง
เชงเก้น มีประเทศอะไรบ้าง
เป็นอีกหนึ่งคำถามต่อเนื่องว่าหากท่านถือวีซ่าเชงเก้น ไปไหนได้บ้าง ทั้งนี้จากข้อมูลและรายละเอียดข้างต้น พบว่าประเทศที่อยู่ในกลุ่มเชงเก้นหรืออยู่ในเขตเชงเก้นนั้นจะประกอบไปด้วย ประเทศในโซนยุโรปทั้งหมด 26 ประเทศ คือ
- ออสเตรีย
- เบลเยียม
- สาธารณรัฐเช็ค
- เยอรมนี
- เดนมาร์ก
- เอสโตเนีย
- กรีซ
- สเปน
- ฟินแลนด์
- ฝรั่งเศส
- ฮังการี
- อิตาลี
- ลิกเตนสไตน์
- ลิทัวเนีย
- ลักเซมเบิร์ก
- ลัตเวีย
- มอลตา
- เนเธอร์แลนด์
- โปรแลนด์
- โปรตุเกส
- สวีเดน
- สโลวาเนีย
- สโลวาเกีย
- ไอซ์แลนด์
- นอร์เวย์
- สวิสเซอร์แลนด์
โดยทั้งหมดนั้น เป็นกลุ่มประเทศในยุโรปที่เข้าร่วมกลุ่มเชงเก้นตามข้อตกลงอัมส์เตอร์ดัม ซึ่งจะส่งผลให้ท่านที่ถือวีซ่าเชงเก้นนั้น สามารถเดินทางไป – มา ข้ามประเทศเหล่านี้ได้โดยใช้เพียงเอกสารวีซ่าเชงเก้นเพียงใบเดียวเท่านั้น
ขอวีซ่าเชงเก้น ยังไง ใช้อะไรบ้าง
ทั้งนี้สำหรับการขอใบอนุญาตเข้าประเทศเพื่อการไปเยือนในระยะสั้นหรือเป็นการชั่วคราวนั้น ทุกท่านจะสามารถใช้เวลาในการเยือนหรือการท่องเที่ยวไม่เกิน 90 วัน ภายในเวลา 180 วัน วีซ่าเชงเก้นนั้นจะสามารถช่วยให้ทุกท่านเข้า – ออก ประเทศในกลุ่มเชงเก้นได้ 26 ประเทศ ซึ่งวีซ่าเชงเก้นนี้ทุกท่านสามารถเข้าดำเนินการยื่นขอวีซ่าเชงเก้นได้ทันทีผ่านสถานทูตโดยตรง หรือดำเนินการผ่าน 3 ช่องทาง ดังนี้
- ยื่นคำร้องผ่านศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าเชงเก้น VFS Global อาคารเอะ เทรนดี้ ชั้น 28 ซอยสุขุมวิท 13 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพ 10110 เวลาทำการ วันจันทร์ – ศุกร์ 08.30 – 16.30 น.
- ยื่นคำร้องผ่านศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าเชงเก้น TLS Contact สาทรซิตี้ทาวเวอร์ ชั้นที่ 12 ถนนสาทรใต้ 175 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพ 10120 เวลาทำการ วันจันทร์ – ศุกร์ 08.00 – 16.30 น. พักทำการเวลา 12.30 – 13.30 น.
- ยื่นคำร้องผ่านศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าเชงเก้น BLS International อาคารอินเตอร์เชนจ์ 21 ชั้น 22 ห้องเลขที่ 2211 เลขที่ 399 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพ 10110 เวลาทำการ วันจันทร์ – ศุกร์ 08.30 – 16.00 น. พักทำการเวลา 12.00 – 13.00 น.
โดยทุกท่านนั้น สามารถดำเนินการได้ล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน แต่ต้องไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนการเดินทาง ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์ม SChengeri Visa Application หรือกรอกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์
เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับ วีซ่าเชงเก้น
นอกจากการเข้ากรอกข้อมูลและดาวน์โหลดเอกสารคำร้องขอวีซ่าเชงเก้นแล้วนั้น ทุกท่านจะต้องดำเนินการเตรียมเอกสารประกอบการยื่นขอวีซ่าเชงเก้น ซึ่งมีรายการดังต่อไปนี้
- ใบคำร้อง
- พาสปอร์ต โดยพาสปอร์ตจะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 3 เดือนจากวันที่ท่านต้องเดินทาง และต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 2 หน้า และควรเตรียมสำเนาไว้อย่างน้อย 2 ฉบับ
- รูปถ่าย โดยจะเป็นรูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว 2 รูป สีพื้นหลังควรเป็นสีขาวหรือสีอ่อน และถ่ายไว้เกิน 6 เดือน
- หนังสือรับรองการทำงาน ซึ่งจะต้องเป็นหนังสือ เอกสารภาษาอังกฤษและมีอายุไม่เกิน 1 เดือน
- หนังสือรับรองจากธนาคาร รายการเดินบัญชีเงินฝาก ย้อนหลังไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และสลิปเงินเดือน
- รายการเอกสารสำเนาการจองที่พัก และตั๋วโดยสาร ซึ่งจะต้องมีการยืนยันทั้งหมด
- รายละเอียดการเดินทางทั้งหมด ว่าจะเดินทางไปที่ใดบ้าง ประเทศใด และเดินทางอย่างไร
- หนังสือจากบริษัท หน่วยงาน ที่มีการระบุวัตถุประสงค์ชัดเจน หรือหนังสือรับรองความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้เชิญและผู้ยื่นขอวีซ่าเชงเก้น
- ค่าธรรมเนียมการขอวีซ่าเชงเก้น ประมาณ 2,500 บาท
- กรมธรรม์ประกันภัยการเดินทาง โดยทุกท่านควรมีการทำประกันภัยการเดินทางที่มีวงเงินไม่น้อยกว่า 30,000 ยูโร หรือ 1,500,000 บาท
อ้างอิง 1