นอกจากผลสลากกินแบ่งรัฐบาลและผลสลากออมสินแล้ว กำหนดการณ์ของการฉีดวัคซีนโควิดและทามไลน์ของวัคซีนโควิด 19 ล่าสุดนั้นคงเป็นอีกสิ่งที่ประชาชนชาวไทย ทุกคนต่างตั้งตารอ ซึ่งล่าสุด กระทรวงสาธารณสุข พร้อมกรมควบคุมโรค ได้ออกนโยบาย และการกำหนดเป้าหมายในการบริหารจัดการให้วัคซีนโควิดให้กับประชาชนไว้ คือ เพื่อลดอัตราการป่วยและการเสียชีวิต และเน้นการปกป้องระบบสุขภาพ โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเสี่ยง
ทั้งนี้ นอกจากรายละเอียดในประเด็นดังกล่าวแล้ว ในครั้งนี้ เรายังมีรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลวัคซีนโควิด 19 ล่าสุดมานำเสนอให้แก่ทุกท่าน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับวัคซีนโควิด และฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง
ลิงก์ผู้สนับสนุน
วัคซีนโควิด 19 ใครจะได้ฉีดก่อน
จากข้อมูล วัคซีนโควิด 19 ล่าสุดและประกอบกับการวางนโยบายการฉีดวัคซีนนั้น พบว่ากระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าการกระจายวัคซีนที่มี 2 ล้านโดสแรก สำหรับการฉีดวัคซีนโควิด ใน 10 จังหวัดกลุ่มเสี่ยง หรือเขตพื้นที่สีแดง ซึ่งสามารถครอบคลุมพื้นทั้งหมดในภายหลัง ซึ่งจะเน้นไปที่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นลำดับแรก และตามด้วยกลุ่มประชาชนหรือบุคคลที่มีโรคประจำตัว เช่น
- โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง อาทิ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหอบหืดที่ควบคุมได้ไม่ดี
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- โรคไตเรื้อรังที่อยู่ระยะ 5 ขึ้นไป
- โรคมะเร็งทุกชนิด
- โรคเบาหวาน
- โรคอ้วน ที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม
- ผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
- เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด 19
โดยทั้งหมดจะได้รับการฉีดวัคซีนในระยะที่ 1 ซึ่งเป็นระยะเพื่อลดการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 ทั้งนี้จากการที่ประเทศไทย ได้รับจากการจัดหาวัคซีนโควิดทั้ง 2 ชนิด คือ Virus Vector และชนิดเชื้อตายจากแอสตราเซเนกา และซิโนแวค ชุดแรกกว่า 2 แสนโดสและคาดว่าจะครบทั้งหมด 2 ล้านโดสในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมนั้น กระทรวงสาธารณสุขจะดำเนินการตามแผนที่วางไว้ ส่งผลให้ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2564 จะมีการฉีดวัคซีน 19 ทั้งหมด 2 ล้านโดสให้กับบุคคลกลุ่มที่ระบุไปคนละ 2 โดส ตามการวางแผนในระยะที่ 1 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตจังหวัดเสี่ยงสีแดง 10 จังหวัด โดยแบ่งได้ ดังนี้
- สมุทรสาคร 820,000 โดส (410,000 คน)
- กรุงเทพมหานคร 800,000 โดส (400,000 คน)
- นนทบุรี 26,000 โดส (13,000 คน)
- ปทุมธานี 26,000 โดส (13,000 คน)
- สมุทรปราการ 28,000 โดส (14,000 คน)
- ระยอง 18,000 โดส (9,000 คน)
- ชลบุรี 28,000 โดส (14,000 คน)
- จันทบุรี 16,000 โดส (8,000 คน)
- ตราด 12,000 โดส (6,000 คน)
- ตาก เฉพาะอำเภอแม่สอด 160,000 โดส (80,000 คน)
ฉีดวัคซีนโควิด 19 ระยะที่ 2 มีใครบ้าง
หลังจากที่ทราบรายละเอียดการฉีดวัคซีนในระยะที่ 1 ไปแล้ว เราต้องมาศึกษารายละเอียดการฉีดวัคซีนในระยะที่ 2 โดยเป็นการให้วัคซีนโควิด 19 ล่าสุดที่กำหนดไว้ในช่วงเดือนมิถุนายน – ธันวาคม 2564 จากการได้รับวัคซีนโควิดอีกประมาณ 61 ล้านโดส ซึ่งเป็นระยะที่มีวัคซีนมากขึ้น และมีจำนวนเพียงพอต่อการจัดการ และดำเนินการฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้ทั่วถึง โดยระยะที่ 2 นี้ มีการกำหนดเป้าหมายเพื่อรักษาสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ พร้อมกับกับการสร้างภูมิคุ้มกันในระดับประชาชนและพื้นฟูให้ประเทศสามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ในเร็ววัน ดังนั้นการฉีดวัคซีนโควิด 19 จึงมีการตั้งเป้าไปที่กลุ่มบุคคลที่มีการกำหนดรายละเอียดไว้ ดังนี้
- กลุ่มเป้าหมายในระยะที่ 1 ดังเช่นผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน เป็นต้น
- บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากกลุ่มสี่ยงที่อยู่ในพื้นที่สีแดง หรือพื้นที่ด่านหน้า
- ผู้ประกอบอาชีพท่องเที่ยว เช่น พนักงานโรงแรม สถานบันเทิง มัคคุเทศก์
- ผู้เดินทางระหว่างประเทศ เช่น ผู้ที่ประกอบอาชีพนักบิน/ ลูกเรือ นักธุรกิจระหว่างประเทศ เป็นต้น
- นักการทูต เจ้าหน้าที่องค์ระหว่างประเทศ
- แรงงานในภาคอุตสาหกรรม
- ประชาชนทั่วไป
ฉีดวัคซีนโควิด ปลอดภัยหรือไม่
จากข้อมูลทั้งหมดจะเห็นว่าการดำเนินการฉีดวัคซีน ให้แก่ประชาชนทั่วไปจะสามารถดำเนินการได้ในช่วงเดือนมิถุนายน 2564 เป็นต้นไป โดยสำหรับหลาย ๆ ท่านที่เข้าข่ายที่สามารถขอรับการฉีดวัคซีนได้ก่อน คงมีความไม่แน่ใจเรื่องความปลอดภัยในการฉีด โดยทางกระทรวงสาธารณสุขได้มีมาตรการในการให้บริการวัคซีนวิด 19 เพื่อรองรับการสอบสวนและติดตามผล
หลังจากให้บริการวัคซีนสำหรับกลุ่มเป้าหมาย บุคคลดังกล่าวจะต้องอยู่ในการกำกับดูแล และสังเกตอาการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างน้อย 30 นาทีหลังจากการฉีดวัคซีน ซึ่งหากมีอาการแพ้ หรืออาการผิดปกติจะสามารถได้รับการช่วยเหลือและปฐมพยาบาลเบื้องต้น ซึ่งหากหลังจากนั้นไม่มีการปรากฏอาการผิดปกติใด ๆ ทางเจ้าหน้าที่จะดำเนินการติดตามและสอบสวนอาการหลังการรับวัคซีนจนครบระยะเวลา 1 เดือน
ยิ่งไปกว่านั้น จากการกำหนดนโยบาย ทีมผู้ฉีดวัคซีนนั้น จะต้องเข้ารับการอบรมวิธีการกู้ชีพเบื้องต้น อย่างน้อยทุก ๆ 3 ปี เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจและเป็นมาตรฐานการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ที่ควรปฏิบัติ