ติดโควิดเบิกประกันสังคมได้ไหม 2565

ถึงวินาทีนี้โรคภัยไข้เจ็บใดก็คงจะไม่เป็นปัญหาและเป็นอุปสรรคไปมากกว่าเชื้อไวรัสโควิด – 19 เพราะแม้ว่าเราจะอยู่กับมันมาร่วม ๆ เวลานานถึง 3 ปีแล้วก็ตาม แต่ด้วยความรุนแรงและการแพร่ระบาดที่สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ทุกท่านก็ยังคงต้องระมัดระวังการติดเชื้ออยู่ในทุก ๆ วันที่ต้องออกไปทำงาน ต้องใช้ชีวิตกัน แต่ถ้าเกิดเหตุไม่พึ่งประสงค์ ได้รับเชื้อ ติดเชื้อโควิดขึ้นมา หลายท่านคงจะมีข้อสงสัยว่า ถ้าเรามีฐานะเป็น “ผู้ประกันตน” ณ เวลานี้มีหน่วยงานใดบ้างที่สามารถให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะสำนักงานประกันสังคม ดังนั้นในครั้งนี้ เพื่อเป็นการให้รายละเอียดเพิ่มเติมและอับเดตข้อมูลล่าสุดสำหรับผู้ประกันตนทุกท่านว่า หากท่าน “ติดโควิดเบิกประกันสังคมได้ไหม” วันนี้เรามีคำตอบที่นี่ เราไปดูกัน 

 

ติดโควิดเบิกประกันสังคมได้ไหม
Advertisement

ติดโควิดเบิกประกันสังคมได้ไหม 2022

สำนักงานประกันสังคมเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้การดูแลพี่น้องประชาชนทุกท่านที่เข้าร่วมส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อเป็นหลักประกันในการดำเนินชีวิต ซึ่งไม่ว่าทุกท่านจะมีฐานะเป็นผู้ประกันตนมาตร 33/ 39/ 40 เมื่อเกิดปัญหาและได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะกรณีการติดเชื้อโควิด ณ เวลานี้ สำนักงานประกันสังคมจะเป็นหน่วยงานแรกที่เข้าให้ความช่วยเหลือทุกท่าน โดยสามารถให้ความช่วยเหลือซึ่งครอบคลุมค่าบริการทางการแพทย์ซึ่งต้องจ่ายให้กับสถานพยาบาล แพทย์ผู้ดูแล ทั้งนี้ไม่ว่าท่านจะเป็นผู้ป่วยติดเชื้อโควิด – 19 ที่ต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนามหรือแม้กระทั้งการพักรักษาตัวในรูปแบบ Home Isolation ก็ตาม ทั้งหมดสามารถได้รับความช่วยเหลือแน่นอน โดยสามารถแบ่งเป็นส่วนต่าง ๆ ตามแต่ฐานะของการเป็นผู้ประกัน ดังนี้

 

ติดโควิดเบิกประกันสังคมได้ไหม ผู้ประกันตนมาตรา 33

ในด้านค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลหากท่านเป็นผู้ประกันตน ม.33 แล้วตรวจพบว่าเป็นผู้ติดเชื้อโควิด – 19 ท่านสามารถได้รับการดูแลในโรงพยาบาล หรือสถานที่ต่าง ๆ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยสามารถครอบคลุมค่ารักษาบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน ดังนี้

  • ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  • ค่าดูแลการให้บริการผู้ประกันตนที่ป่วย โดยเป็นค่าใช้จ่ายรวมค่าอาหาร 3 มื้อ การติดตามประเมินอาการและการให้คำปรึกษา เหมาะจ่ายในอัตรา 1000 บาทต่อวัน ทั้งนี้ไม่เกิน 14 วัน
  • ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น เช่น ค่าปรอทวัดไข้ เครื่องวัดค่าออซิเจนในเลือดและอื่น ๆ
  • ค่ายาที่ใช้ในการรักษาพยาบาล
  • ค่าพาหนะเพื่อการรับหรือส่งผู้ป่วยระหว่างที่พัก โรงพยาบาลสนามหรือสถานพยาบาลอื่น ๆ
  • ค่าบริการ X – Ray
  • ค่า Oxygen ตามดุลยพินิจของแพทย์

และสำหรับการเบิกค่าทดแทนการขาดรายได้ ผู้ประกันตนมาตรา 33 สามารถดำเนินการเบิกได้ตามสิทธิ ดังนี้

  • กรณีลาป่วย ทุกท่านสามารถได้รับค่าจ้าง 30 วันแรก โดยจะได้รับจากนายจ้าง
  • หากมีการหยุดรักษาพยาบาลเกิน 30 วัน ท่านสามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ จากสำนักงานประกันสังคมได้ตั้งแต่วันที่ 31 ของการหยุดรักษาตัวและการลาป่วย โดยจะได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน และปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่ป่วยจากโรคเรื้อรังซึ่งจะได้รับไม่เกิน 365 วัน

 

ติดโควิดเบิกประกันสังคมได้ไหม ผู้ประกันตนมาตรา 39 และ 40

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 และ 40 นั้น ทุกท่านสามารถได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลเท่าเทียมกัน แต่สิ่งที่จะมีความแตกต่างไปจากการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ก็คือ ส่วนของการได้รับเงินทดแทนกรณีขาดรายได้ ซึ่งสำนักงานประกันสังคมได้ให้รายละเอียดและข้อมูลไว้ว่า สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 นั้น จะสามารถได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 โดยจะมีการคิดคำนวณจากฐานอัตราเงินสมทบที่ท่านได้จ่ายเข้าสู่กองทุน โดยจะอยู่ที่ 4,800 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วันและสามารถได้รับปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นผู้ประกันตนได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งจะสามารถได้รับเงินทดแทนไท่เกิน 365 วัน โดยสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 นั้นจะได้รับการพิจารณาเงินทดแทนจากเอกสารหลักฐานและใบรับรองแพทย์ โดยผู้ประกันตนจะต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันที่เข้ารับการให้บริการทางการแพทย์นั้น

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 นั้น ทุกท่านจะมีทางเลือกให้ดำเนินการโดย ทุกท่านจะสามารถได้รับสิทธิเงินทดแทน ดังต่อไปนี้

  • ข้อ 1 เงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 300 บาท กรณีที่เข้ารับการรักษาประเภทผู้ป่วยในโรงพยาบาล/ โรงพยาบาลสนาม/ สถานพยาบาลผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไปและไม่เกิน 30 วันต่อปี
  • ข้อ 2 เงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท กรณีมีความเห็นจากแพทย์ผู้รักษาให้หยุดพักรักษาตัวหรือพักกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) หรือแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปและไม่เกิน 30 วันต่อปี
  • ข้อ 3 เงินทดแทนการขาดรายได้ครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 90 วันต่อปี กรณีที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาประเภทผู้ป่วยในและไม่ได้มีความเห็นของแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวหรือกักตัว โดยต้องมีใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อสำนักงานเท่านั้น

ทั้งนี้หากทุกท่านยังมีประเด็นคำถามและยังคงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเบิกเงินทดแทนจากสำนักงานประกันสังคม ในกรณีติดเชื้อโควิด ทุกท่านสามารถติดต่อเพื่อสอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ทันทีที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วนประกันสังคมที่ 1506 ได้ทันที

 

อ้างอิง 1